THAI

การเริ่มต้นและการดำเนินงานร้านกาแฟ
จำเป็นต้องมีแนวคิดที่มีเอกลักษณ์และการตกแต่งภายในที่กระตุ้นความรู้สึก
สัญญาการก่อสร้างภายใน
- การมอบหมายงานก่อสร้างภายในให้แก่นักออกแบบตกแต่งภายใน ให้ถือเป็นสัญญาการจ้างงาน ซึ่งผู้รับเหมาตกลงทำการก่อสร้างภายใน และคู่สัญญา (ผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ) ตกลงชำระ ค่าตอบแทนตามผลของงานนั้น ๆ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 664)
※ เป็นเรื่องสำคัญของการจัดทำสัญญาเมื่อมีการมอบหมายการก่อสร้างในประเด็นต่าง ๆ เช่น การซ่อมแซมข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาควรระบุอย่างชัดเจนถึง ขอบเขตการก่อสร้าง และระบุระยะเวลารับผิดชอบการแก้ไขข้อบกพร่อง
※ การเลือกผู้รับเหมาเพื่องานก่อสร้างภายใน ถ้ามูลค่าของการก่อสร้างสูงถึง 10 ล้านวอน หรือมากกว่า อาจจะเป็นการดีที่จะเลือกผู้รับเหมาซึ่งจดทะเบียนธุรกิจการก่อสร้าง ตาม 「พระราช บัญญัติกรอบแผนงานอุตสาหกรรมการก่อสร้าง」 ในข้อกำหนดการซ่อมแซม ข้อบกพร่อง (「พระราชบัญญัติกรอบแผนงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง」 มาตรา 9(1) และ 「พระราชกำหนด การบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติกรอบแผนงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง」 มาตรา 8(1) วรรค 2 และภาคผนวก 1)
※ การก่อสร้างภายในโดยผู้รับเหมาที่จดทะเบียนตาม 「พระราชบัญญัติกรอบแผนงานอุตสาหกรรม ก่อสร้าง」 จะได้รับประโยชน์จากการรับประกันความรับผิดชอบข้อบกพร่องเป็นเวลา 1 ปี (「พระราชบัญญัติกรอบแผนงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง」 มาตรา 28(1) และ 「พระราชกำหนด การบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติกรอบแผนงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง」 มาตรา 30 และภาคผนวก 4)
การจ่ายค่าตอบแทน
- การจ่ายค่าตอบแทน (ค่าก่อสร้าง) ต้องกระทำในขณะที่คู่สัญญาได้ทำการตกลงร่วมกัน แต่ในกรณีที่ ไม่ได้ระบุเวลาไว้ชัดเจน ให้มีผลใช้ตามธรรมเนียมปฏิบัติ หากไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติใด ๆ ในกรณีของ ระยะเวลาการจ่ายค่าตอบแทน ค่าตอบแทนดังกล่าวจะต้องถูชำระหลังการเสร็จสิ้นของงานตามที่ได้ ตกลงกันไว้ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 656(2) และมาตรา 665)
· เพื่อความก้าวหน้าของงานที่ชัดเจน ความระบุระยะเวลาการจ่ายค่าตอบแทนไว้ในสัญญา
การรับประกันความบกพร่อง
- ระยะเวลารับผิดชอบความบกพร่อง
· เมื่อพบความบกพร่องใด ๆ ในงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว หรือในส่วนหนึ่งของงานที่เสร็จสิ้นก่อนงาน ทั้งหมดจะสมบูรณ์ ผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ ผู้สั่งงานอาจขอให้ผู้รับเหมาซ่อมและแก้ไขจุดบกพร่อง ให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ชัดเจน
· อย่างไรก็ตาม นี่จะไม่มีผลบังคับใช้ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากจนเกินควรในการแก้ไขข้อบกพร่อง เล็กน้อย (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 667(1))
- ผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟซึ่งเป็นผู้สั่งงานอาจเรียกร้องขอค่าชดเชยทดแทนความเสียหาย หรือร่วมกัน การแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว เขา/เธออาจปฏิเสธการชำระค่าก่อสร้าง จนกว่าคู่สัญญาจะทำการ ชดเชยความเสียหาย (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 667(2) และมาตรา 536(1))
- การเรียกร้องให้ซ่อมแซมข้อบกพร่อง หรือความเสียหาย ควรจะกระทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับวันที่การก่อสร้างเสร็จสิ้น (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 670(1))
- ข้อยกเว้นความรับผิดชอบสำหรับการประกันความบกพร่อง
· ความรับผิดชอบต่อการประกันความบกพร่อง จะไม่มีผลบังคับใช้หากข้อบกพร่องของงานที่เสร็จสิ้น อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติของวัสดุ ซึ่งผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟเป็นผู้สั่งงาน หรือด้วยเหตุผลซึ่ง เกิดจากคำสั่งของผู้ดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบต่อการประกันความบกพร่อง จะเกิดขึ้น หากผู้รับเหมาไม่แจ้งให้ผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟทราบถึงความไม่เหมาะสมของวัสดุ หรือคำสั่งงานดังกล่าว (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 669)
ข้อตกลงพิเศษที่ได้รับการยกเว้นความรับผิดชอบสำหรับการประกันความบกพร่อง
- แม้จะมีข้อตกลงพิเศษขึ้นระหว่างคู่สัญญา ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับเหมาไม่มีภาระผูกพัน กับความรับผิดชอบสำหรับการประกันความบกพร่อง เขาไม่อาจจะละทิ้งความรับผิดชอบสำหรับ การประกันความบกพร่องได้ในผลของงานที่ทำ หรือวัสดุที่เขารับรู้หรือพลาดที่จะแจ้งให้ทราบ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 672)