THAI

การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร
การแจ้งเริ่มต้นธุรกิจ
บุคคลที่ต้องแจ้งการเริ่มต้นธุรกิจ
- บุคคลใดที่มีความประสงค์จะมีส่วนร่วมกับธุรกิจต่อไปนี้ จะต้องยื่นแจ้งเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา นายกเทศมนตรีเมืองปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการ จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ หรือนายกเทศมนตรี/ผู้ว่าราชการเมือง/ผู้อำนวยการสำนักงานเขต (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “สำนักงานรับแจ้งเรื่อง”) ตามประเภทธุรกิจ หรือสถานที่ประกอบธุรกิจ (「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 ข้อกำหนดตามมาตรา 37(4) และ「กฎระเบียบการบังคับใช้ กฎหมายตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 25(1) วรรค 8)
· ธุรกิจร้านอาหารเพื่อการพักผ่อน
· ธุรกิจร้านอาหารทั่วไป
· ธุรกิจบริการจัดเลี้ยง
· ธุรกิจเบเกอรี่
ข้อจำกัดในการแจ้งเริ่มต้นธุรกิจ
- ในกรณีใดดังต่อไปนี้ การแจ้งเริ่มต้นธุรกิจจะไม่ผ่านอนุมัติ (「พระราชบัญญัติ สุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 38(2))
· กรณีผู้ประกอบการมีความประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน ในสถานที่เดิมภายใน 6 เดือน นับจากได้รับคำสั่งให้ปิดสถานประกอบธุรกิจของเขา/เธอ เนื่องจากมีการละเมิดพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร (ไม่รวมกรณีที่ใบอนุญาตธุรกิจถูกยกเลิก เนื่องจาก การละเมิด 「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 44(2) วรรค 1 และในกรณีที่ใบอนุญาตธุรกิจถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารมาตรา 75(1) วรรค19) หรือเนื่องจากใบอนุญาตธุรกิจถูกยกเลิกตามมาตรา 16(1) หรือ 16(4) ชองพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการติดฉลากและการโฆษณาอาหาร
√ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีคำสั่งให้ปิดสถานประกอบธุรกิจ เพื่อให้ปิดกิจการธุรกิจทั้งหมด ผู้ประกอบการอาจยื่นแจ้งการเริ่มต้นธุรกิจได้
· กรณีผู้ประกอบการธุรกิจมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในธุรกิจบริการอาหาร ในสถานที่เดียวกัน ภายใน 1 ปีนับจากวันที่มีคำสั่งให้ปิดสถานประกอบธุรกิจของเขา/เธอ ได้จ้างงานเด็กและเยาวชน ในฐานะพนักงานด้านความบันเทิง และให้พวกเขาให้บริการด้านความบันเทิง (「พระราช บัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 44(2) วรรค 1) หรือกระทำความผิดตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วย การลงโทษตามพระราชบัญญัติการจัดหาการค้าประเวณี」 มาตรา 4 (「พระราชบัญญัติสุขอนามัย อาหาร」 มาตรา 75(1) วรรค 19)
· rกรณีที่บุคคลเดียวกัน (รวมถึงตัวแทนของบริษัท) ซึ่งได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการของเขา/เธอ ได้ละเมิดพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร มีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจ ประเภทเดียวกัน ซึ่งต้องปิดตัวลงภายใน 2 ปี นับจากวันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว (ไม่รวมกรณีคำสั่ง ที่ออกในกรณีละเมิด มาตรา 4 ถึง 6, มาตรา 8 และวรรคย่อย 1 ของมาตรา 44(2) ของ「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 หรือหากมีคำสั่งให้ปิดธุรกิจตามวรรคย่อย 18 ของมาตรา 75(1) ของ พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร) หรือมีการออกคำสั่งให้ปิดสถานที่ธุรกิจของเขา/เธอตามมาตรา 16(1) ถึง 16(4) ของพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการติดฉลากและการโฆษณาอาหาร
· กรณีที่บุคคลเดียวกัน (รวมถึงตัวแทนของบริษัท) ซึ่งได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการของเขา/เธอ เนื่องจากการจ้างแรงงานเด็กและเยาวชนในฐานะพนักงานทำงานด้านความบันเทิง และให้พวกเขา ให้บริการด้านความบันเทิง (「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 44(2) วรรค 1) หรือกระทำ ผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การลงโทษตาม「พระราชบัญญัติการจัดหาการค้าประเวณี」 มาตรา 4 (「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 75(1) วรรค 19) มีความประสงค์จะมีส่วนร่วม ในการประกอบธุรกิจบริการอาหารภายใน 2 ปี นับจากวันที่มีคำสั่งดังกล่าว
· กรณีบุคคล (รวมถึงตัวแทนของบริษัท) ซึ่งได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการของเขา/เธอ เนื่องจากจำหน่าย อาหารที่เป็นอันตราย (「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 4) เนื้อสัตว์ติดเชื้อโรค (「พระราช บัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 5) เคมีสังเคราะห์ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐาน ที่กำหนด (「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 6) และอุปกรณ์มีพิษ (「พระราชบัญญัติ สุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 8) มีความประสงค์จะมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน ภายใน 5 ปี นับวันที่มีคำสั่งดังกล่าว