THAI

การจัดตั้งและการดำเนินงานของร้านทำเล็บ
การก่อสร้างภายใน
สรุปสัญญาก่อสร้าง
- การมอบหมายงานก่อสร้างภายในให้กับนักออกแบบตกแต่งภายใน ให้ถือเป็นสัญญาการจ้างงาน ซึ่งผู้รับเหมาตกลงทำการ ก่อสร้างภายใน และร้านทำเล็บตกลงชำระค่าตอบแทนตามผลของงานนั้น ๆ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」 มาตรา 664)
ข้อควรระวังเมื่อทำการก่อสร้างภายใน

รายการตรวจสอบในการก่อสร้างภายใน 

ตรวจว่าการติดตั้งฝ้าเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน เคาน์เตอร์ เป็นต้น ว่าเสร็จเรียบร้อยหรือไม่ 

ตรวจสอบอุปกรณ์ในการเสริมสวยเสร็จเรียบร้อยหรือไม่ 

ตรวจสอบระบบสาธารณูปโภค (ระบบน้ำและท่อระบายน้ำ และห้องน้ำ) ได้รับการตรวจสอบหรือไม่ 

ตรวจสอบการติดตั้งระบบปรับอากาศ (การวางท่อและตำแหน่ง)เสร็จเรียบร้อยหรือไม่ 

ตรวจสอบการเชื่อมต่อท่อก๊าซของบริษัทก๊าซว่าได้ติดตั้งเรียบร้อยหรือไม่ 

ตรวจสอบขนาดปริมาณกระแสไฟฟ้า (สายไฟและหลอดไฟ) ว่ามีเพียงพอหรือไม่ 

ตรวจสอบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันการน้ำรั่วซึม งานฉาบ กระเบื้องปูพื้น ผ้าม่าน และพื้นหรือไม่ 

ตรวจสอบว่าการทำป้าย (ภายนอกและป้ายแจ้งเตือนภายใน เมนู เป็นต้น) เป็นที่เรียบร้อยหรือไม่ 

<ที่มา:「คำแนะนำสำหรับธุรกิจขนาดเล็กแต่ละประเภท ร้านเสริมสวย」, สำนักงานบริการการตลาดและธุรกิจขนาดเล็ก >
การรับประกันความเสียหาย
- กรณีที่พบความบกพร่องของงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว หรือ ในบางส่วนของงานซึ่งแล้วเสร็จก่อนงานทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ เจ้าของกิจการร้านเสริมสวยสามารถขอให้ผู้รับเหมาทำการแก้ไขหรือซ่อมแซมความบกพร่องนั้น ๆ ตามเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถใช้ได้กับมูลค่าการซ่อมแซมที่สูงเกินไปกับการแก้ไขเล็กน้อย (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」 มาตรา 667(1))
- เจ้าของกิจการร้านทำเล็บสามารถขอให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างจ่ายเงินสำหรับความบกพร่อง หรือขอให้จ่ายเงินสำหรับความบกพร่องพร้อมกับเงินชดเชยค่าเสียหายด้วยได้ในกรณีนี้ หากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างยังไม่จ่ายเงินค่าเสียหาย เจ้าของกิจการก็สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินค่าก่อสร้างได้ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」 มาตรา 667(2) และ มาตรา 536(1))
※ ชื่อทางการค้า
√ ผู้ใดมีความประสงค์ที่ประกอบธุรกิจร้านทำเล็บ สามารถเลือกใช้ชื่อของเขา/เธอ หรือชื่ออื่น ๆ ของเขา/เธอ เป็นชื่อทางการค้าได้อย่างอิสระ (「พระราชบัญญัติพาณิชย์」 มาตรา 18)
√ การกระทำใดที่ก่อให้เกิดความสับสนต่อสถานประกอบการ หรือกิจกรรมทางการค้าของผู้อื่น โดยใช้ชื่อทางการค้า (รวมไปถึงวิธี การจำหน่ายสินค้า หรือ ข้อกำหนดในการให้บริการ และภาพลักษณ์ทั้งหมดของ สถานประกอบการซึ่งให้บริการ เช่น ป้ายร้าน ภาพลักษณ์ และการตกแต่งภายใน) มีลักษณะเหมือนหรือ คล้ายคลึงกันกับชื่อ ชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ ใด ๆ ที่ระบุได้ถึงบุคคลของธุรกิจอื่นซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศเกาหลี หรือการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อความโดดเด่น หรือชื่อเสียงที่มาพร้อมกับสัญลักษณ์ของผู้อื่น โดยปราศจากเหตุผลอันควร อันจะถือได้ว่าเป็นการ แข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และผู้กระทำผิดอาจต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย และต้องโทษจำคุกโดยใช้แรงงานไม่เกิน 3 ปี หรือโทษปรับไม่เกิน 30 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการป้องกันการแข่งขันที่ ไม่เป็นธรรมและความลับทางธุรกิจ」 มาตรา 2 วรรค 1(ข) และ (ค), มาตรา 5 และ มาตรา 18(3) วรรค 1)
※ สามารถยื่นขอจดทะเบียนชื่อทางการค้าได้ที่ศูนย์จดทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตของศาลฎีกา (www.iros.go.kr)