THAI

การจัดตั้งและการดำเนินงานของร้านทำเล็บ
การเลือกทำเลที่ตั้งและเขตการค้าที่เหมาะสม
อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจร้านทำเล็บ
- ธุรกิจร้านทำเล็บจะได้รับอนุญาตให้ประกอบการได้ในอาคารที่อยู่อาศัยใกล้ที่อยู่อาศัย ประเภท 1 เท่านั้น (「พรบ ควบคุมอาคาร」วรรค 2(2), 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายอาคาร」 ภาคผนวก 1 วรรค 3(ค))
เขตพื้นที่ใช้งานเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจร้านทำเล็บ
- ผู้ประกอบธุรกิจร้านทำเล็บได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจได้ในพื้นที่โดยไม่มีข้อจำกัดเว้นแต่พื้นที่ใช้งานเฉพาะดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินแห่งชาติ」มาตรา 76(1) และ「พระราชกำหนดบังคับใช้กฎหมาย ผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินแห่งชาติ」มาตรา 71(1))

พื้นที่ใช้งานเฉพาะ 

ข้อจำกัด 

▪ พื้นที่อยู่อาศัยพิเศษ ประเภท 1 

▪ พื้นที่อยู่อาศัยพิเศษ ประเภท 2 

มีพื้นที่ประกอบธุรกิจร้านทำเล็บโดยรวมไม่เกิน 1,000 ตรม (「พระราชกำหนด บังคับใช้กฎหมายผังเมืองและการใช้ประโยชน์ ที่ดินแห่งชาติ」) ภาคผนวก 2 วรรค 1(ข) และภาคผนวก 3 วรรค 1(ค)) 

▪ เขตอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว 

ว่าด้วยเทศบัญญัติการวางผังเมืองและการทหารของพื้นที่ จะต้องอนุญาตให้มี การก่อสร้างอาคารเป็นประเภท 1 ในพื้นที่อยู่อาศัยใกล้เคียง ในกรณีเช่นนี้ พื้นที่ใช้สอยโดยรวมเพื่อสอดคล้องกับธุรกิจร้านทำเล็บต้องไม่เกิน 500 ตรม (「พระราชกำหนดบังคับใช้กฎหมายผังเมือ และการใช้ประโยชน์ที่ดินแห่งชาติ」 ภาคผนวก 15 วรรค 2(ข)) 

▪ พื้นที่จัดการอนุรักษ์ 

▪ พื้นที่จัดการการผลิต 

▪ พื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ 

ว่าด้วยเทศบัญญัติการวางผังเมืองและการทหารของพื้นที่ จะต้องอนุญาตให้มี การก่อสร้างอาคารเป็นประเภท 1 ในพื้นที่อยู่อาศัยใกล้เคียง (「พระราชกำหนด บังคับใช้กฎหมายผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินแห่งชาติ」 ภาคผนวก 18 วรรค 2(ก) ภาคผนวก 19 วรรค 2(ข) และภาคผนวก 21 วรรค 2(ก)) 

▪ พื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 

ห้ามมิให้ประกอบธุรกิจ(「พระราชกำหนดบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและ การใช้ประโยชน์ที่ดินแห่งชาติ」 ภาคผนวก 22) 

※ หากบุคคลใดประสงค์ที่จะเปิดกิจการร้านทำเล็บ เขา/เธอควรได้รับการจดทะเบียนอาคารจากสำนักงานเขต หรือ Minwon24(www.minwon.go.kr) เพื่อทำการระบุอาคารที่ยังไม่ได้รับอนุญาต ขนาดพื้นที่ วัตถุประสงค์ การใช้งานอาคาร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้ประกอบธุรกิจในอาคารที่ได้รับอนุญาตก่อนลงนามในสัญญาเช่า
ประเภทเขตการค้าที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจร้านทำเล็บ

รูปแบบเขตการค้าที่เหมาะสม 

ข้อดีข้อเสีย 

ลักษณะเด่น 

ทำเลหลัก 

(เขตใจกลางเมือง หรือพื้นที่ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน) 

ข้อดี 

▪ ง่ายต่อการประกันรายได้จากฐานลูกค้าสตรีที่เชื่อมโยงกับธุรกิจแฟชั่น เช่น ร้านเสื้อผ้าร้านค้าทั่วไป  

▪ ด้วยแรงดึงดูดทางแฟชั่นสูง ช่วยเพิ่มรายได้จากการให้บริการ และผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง  

▪ มีอุปสงค์ที่พอเพียงต่อความต้องการทางคุณภาพที่สูง 

ข้อเสีย 

▪ มีอัตราค่าเช่าที่สูงโดยรวม เนื่องจากการพัฒนาให้เป็นเขตการค้า ใจกลางเมือง และพื้นที่ใกล้ถานีรถไฟใต้ดิน 

▪ เนื่องจากเป็นพื้นที่มีการแข่งขัน ดังนั้น ผลกำไรอาจต่ำกว่าเมื่อ เทียบกับขนาดการลงทุน 

▪ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันกับแฟรนไชส์ของร้านดีไซเนอร์ชื่อดัง 

ทำเลรอง (ใกล้พื้นที่ที่อยู่อาศัย ในพื้นที่อยู่อาศัย) 

ข้อดี 

▪ ประกันรายได้ที่แน่นอนได้จากฐานลูกค้า โดยใช้พนักงานหลัก 1-2 คน ในสถานประกอบการขนาดเล็ก  

▪ ระดับการแข่งขันน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทำเลเขตใจกลางเมืองหรือใกล้ สถานีรถไฟใต้ดิน 

▪ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันกับแฟรนไชส์ของร้านดีไซเนอร์ชื่อดัง 

ข้อเสีย 

▪ มีความต้องการที่จำกัด ตลาดของร้านขนาดเล็กและขนาดกลาง แตกต่างกัน ทำให้การเพิ่มรายได้มีจำกัดอย่างเห็นได้ชัด  

▪ เนื่องจากร้านมีขนาดเล็ก จึงมีข้อจำกัด เช่น ไม่สามารถรองรับลูกค้า ที่มากขึ้นได้ เป็นต้น 

<ที่มา: อ้างถึง 「การวิเคราะห์ธุรกิจการเริ่มต้นธุรกิจแต่ละประเภทสำหรับธุรกิจขนาดเล็กธุรกิจการให้บริการ」, องค์กรขนาดเล็ก และการบริการทางการตลาด>