THAI

แฟรนไชส์ (สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์)
มาตรการแก้ไข
มาตรการแก้ไข
- คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจมีคำสั่งให้ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งกระทำการละเมิดต่อการนำฝากค่าธรรมเนียมผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต่อไปนี้ ให้จัดการแถลงการเปิดเผยข้อมูล ชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของร้านค้า ส่งคืนค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ไม่กระทำการละเมิดต่อไป จัดทำรายงานแผน หรือการปฏิบัติที่จำเป็นในการแก้ไขการละเมิด หรือดำเนินตามมาตรการอื่นที่จำเป้นในการแก้ไขการละเมิด (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 33(1))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ยื่นคำร้องขอชำระค่ามัดจำแฟรนไชส์ ในการละเมิดต่อข้อกำหนดสำหรับการนำฝากค่ามัดจำแฟรนไชส์ หรือด้วยการหลอกลวงหรือวิธีที่ไม่เหมาะสมอื่น (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 6-5(1) และ (4))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ไม่แถลงการเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้ที่จะเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 7(3))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือเกินจริง(「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 9(1))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ไม่คืนค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ภายในหนึ่งเดือน นับจากวันที่ที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์หรือผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ยื่นคำร้องขอคืนค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมูลเหตุทางกฎหมาย (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 10(1))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ละเว้นประเด็นที่ต้องรวมอยู่ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 11(1) และ (2))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์กระทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12(1))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์บังคับให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของร้านค้าอย่างไม่เป็นธรรม (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12-2(1) และ (2))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จำกัดชั่วโมงทำการอย่างไม่เป็นธรรม (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12-3(1) และ (2))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ฝ่าฝืนพื้นที่ขายอย่างไม่เป็นธรรม (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12-4)
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ดำเนินการตอบโต้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12-5)
· กรณีดำเนินการผู้รับสิทธิแฟรนไชส์รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนของการโฆษณาหรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์แต่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดแก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์และไม่สามารถตรวจสอบได้ถึงแม้ว่าจะมีคำขอมาจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12-6(2))
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ลงโทษผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ภายใต้ข้ออ้างเรื่องการก่อตั้ง สมาชิกภาพ กิจกรรมต่าง ๆ และอื่นๆของสมาคมผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ หรือทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต้องหรือต้องไม่เข้าร่วมสมาคมผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 14-2(5))
· ถึงแม้ว่าผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จะไม่สามารถทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย หรือการประกันที่คล้ายกันเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ได้ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ได้ใช้เครื่องหมายเพื่อระบุในลักษณะหลอกลวง ว่าผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ได้จัดทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย หรือเครื่องหมายที่คล้ายกัน (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(3) และ (6))
การประกาศและแจ้งต่อสาธารณะเรื่องคำสั่งการแก้ไข
- คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจมีคำสั่งให้ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ทำการประกาศต่อสาธารณะว่าผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ได้รับคำสั่งแก้ไขหรือ ส่งหมายดังกล่าวให้แก่คู่ค้าทางธุรกิจ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 33(3))
การลงโทษต่อการไม่ตอบสนองต่อมาตรการแก้ไข
- หากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ดำเนินตามมาตรการแก้ไข ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จะต้องโทษจำคุกโดยใช้แรงงานไม่เกินสามปี หรือต้องโทษปรับไม่เกิน 100 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 41(2) อนุวรรค 2)
· เมื่อตัวแทนขององค์กร หรือตัวแทน ลูกจ้าง หรือคนงานอื่น ขององค์กร หรือบุคคลไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร หรือบุคคล ไม่เพียงแต่ผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษแต่องค์กรหรือบุคคลจะต้องได้รับโทษโดยมีกำหนดโทษปรับ 100 ล้านวอนอย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดนี้ ไม่มีผลบังคับใช้ ในกรณีที่องค์กรหรือบุคคลให้ความใส่ใจอย่างจริงจัง ในการกำกับดูแลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไม่ให้กระทำผิดดังกล่าว (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 42)