THAI

แฟรนไชส์ (สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์)
สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
ประเด็นที่ต้องรวมในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
- เนื้อหาของสัญญากำหนดโดยและระหว่างคู่สัญญา อย่างไรก็ตาม ตามความใน「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ได้ กำหนดประเด็นที่ต้องรวมอยู่ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อคุ้มครองผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ หรือผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
- ต้องรวมประเด็น 19 ข้อดังต่อไปนี้ไว้ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 11(2) และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 12)
· ประเด็นเกี่ยวกับการให้สิทธิ์การใช้เครื่องหมายธุรกิจ
· ประเด็นเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขกิจกรรมทางธุรกิจของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
· ประเด็นเกี่ยวกับแนวทางด้านการศึกษา การฝึกอบรม การธุรกิจสำหรับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
· ประเด็นเกี่ยวกับการชำระค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และอื่น ๆ
· ประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดเขตพื้นที่ธุรกิจ
· ประเด็นเกี่ยวกับข้อกำหนดของสัญญา
· ประเด็นเกี่ยวกับการถ่ายโอนธุรกิจ
· ประเด็นเกี่ยวกับเหตุผลในการเพิกถอนสัญญา
· ระบุข้อเท็จจริงซึ่งผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์หรือ ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ต้องชำระค่ามัดจำแฟรนไชส์ไปที่บัญชีรับฝากค่ามัดจำ เป็นเวลานานถึงสองเดือน นับจากวันที่ได้ทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (หรือนับจากวันที่เริ่มต้นการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ โดยที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์เริ่มต้นการประกอบธุรกิจก่อนระยะเวลาสองเดือนข้างต้นจะสิ้นสุดลง)
√ อย่างไรก็ตาม หากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ได้ทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต้องรวมประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการประกันภัยไว้ในสัญญาด้วย
· ประเด็นเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ได้ขอรับคำปรึกษาจากทนาย หรือผู้ค้าแฟรนไชส์เกี่ยวกับคำแถลงการเปิดเผยข้อมูล
· ประเด็นเกี่ยวกับภาระผูกพันในการชดเชยการขาดทุน ที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ แก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นเป็นผลมาจากความขัดแย้งกับธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคม เช่น การกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อถือ
· ประเด็นอื่นเกี่ยวกับสิทธิ์และภาระผูกพันของคู่สัญญาของธุรกิจแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ครอบคลุมการคืนเงิน เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์ สิ่งติดตรึง และอื่น ๆ สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ รวมถึงการบำรุงรักษา ซ่อมแซมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ดังกล่าว
√ ประเด็นเกี่ยวกับมาตรการที่ต้องปฏิบัติในกรณีที่มีการเพิกถอนและยกเลิกสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับเหตุผลที่ดีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์อาจปฏิเสธต่ออายุสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับความลับทางการค้าของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับการชดเชยการขาดทุนอันเนื่องมาจากการละเมิดสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
√ ประเด็นเกี่ยวกับสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ก่อนหน้า ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ได้ทำการโอนแฟรนไชส์ไปให้กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์รายอื่น
√ ประเด็นเกี่ยวกับมาตรการที่ต้องดำเนินการหลังสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์
เนื้อหาของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์และผู้ที่ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ที่มีความจำนงเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ มีสิทธิ์เพิ่มข้อกำหนดในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ นอกเหนือจากข้อกำหนดที่จำเป็นต้องรวมอยู่ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ต้องไม่รวมประเภทของข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมดังต่อไปนี้ ไว้ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 17) หากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ละเมิดข้อกำหนดนี้คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจใช้อำนาจสั่งให้ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ทำการประกาศอย่างเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงที่ได้รับคำสั่งให้ตัดทอน ทบทวน หรือแก้ไขข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามมาตรการอื่น ที่จำเป็นเพื่อแก้ไขข้อกำหนดและเงื่อนไขดังกล่าว (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」มาตรา 17-2)
· ข้อกำหนดใดในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่เอื้อต่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ โดยไม่มีเหตุผลอันควร และขัดต่อหลักความน่าเชื่อถือและความสุจริต (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」มาตรา 6)
· ข้อกำหนดใดซึ่งยกเว้นให้ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ตัวแทน หรือลูกจ้างของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ จากการรับผิดต่อเจตนาและความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ในส่วนของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ตัวแทน หรือลูกจ้างของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」มาตรา 7)
· ข้อกำหนดใดซึ่งเป็นภาระผูกพันให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต้องชดใช้ค่าขาดทุนเป็นจำนวนมากเกินกว่าเหตุผลอันควร รวมไปถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การขาดทุนสภาพคล่องที่เกิดจากความล่าช้า (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 8)
· ข้อกำหนดใดซึ่งยับยั้งผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาภายใต้กฎหมาย หรือจำกัดการใช้สิทธิ์ดังกล่าว (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 9)
· ข้อกำหนดใดซึ่งให้อำนาจแก่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ในการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการปฏิบัติ แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่มีเหตุผลอันควร (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 10)
· ข้อกำหนดใดซึ่งยกเว้นหรือจำกัดสิทธิ์ต่อการคุ้มครอง การชดเชยความเสียหาย และอื่น ๆของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยไม่มีเหตุผลอันควร (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」มาตรา 11)
· ข้อกำหนดที่บังคับใช้ข้อจำกัดที่เข้มงวดในข้อกำหนดเกินเหตุอันควร หรือ วิธีที่อาจมีผลต่อในการแสดงความจำนงของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์การแสดงความจำนงของเขา (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」มาตรา 12)
· กรณีการสัญญาแฟรนไชส์เกิดขึ้นโดยตัวแทนของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ และ ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันตามที่ได้ระบุไว้ในข้อกำหนดและเงื่อนไขใด ซึงกำหนดให้ตัวแทนมีภาระผูกพันในการดำเนินการตามภาระผูกพันที่มีต่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ของทั้งหมดหรือบางส่วน (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 13)
· ข้อกำหนดใดซึ่งห้ามมิไม่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ฟ้องร้องคดี(「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 14)
※ หากข้อกำหนดใดที่ระบุข้างต้นรวมอยู่ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์และกลับไม่มีผลบังคับใช้ และให้ถือเป็นโมฆะ ข้อกำหนดที่เหลือในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ยังคงมีผลบังคับใช้ตามเดิม อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ในส่วนของข้อกำหนดที่มีผลบังคับใช้ หรือหากข้อกำหนดที่มีผลบังคับใช้ไม่เอื้อต่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ โดยไม่มีเหตุผลอันควร ให้ถือว่าสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ดังกล่าว ไม่มีผลบังคับใช้และให้ถือเป็นโมฆะ (「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」 มาตรา 16)
- ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ละเว้นประเด็นใดที่ต้องรวมอยู่ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ต้องดำเนินตามมาตรการแก้ไข ชำระเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และอื่น ๆ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 33 ถึง 35)
※ ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ละเว้นเนื้อหาที่จำเป็นต้องรวมอยู่ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ตามกฎหมาย ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ที่มีความจำนงเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ดังกล่าว มีสิทธิ์รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 32-3(1))
ผลกระทบของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
- สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งจัดทำขึ้นโดยและระหว่างผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง และผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์เกือบทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของข้อกำหนดและเงื่อนไข
- สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อกำหนดและเงื่อนไข ต้องจำแนกตามเอกสารข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่กำหนดและเป็นไปตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」
- กรณีการทำสัญญาแยกต่างหาก
· หากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ที่มีความจำนงเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ในประเด็นลักษณะที่แตกต่างจากที่ระบุไว้ในข้อกำหนดและเงื่อนไข ให้ถือว่าสัญญาดังกล่าวมีสิทธิ์เหนือกว่าข้อกำหนดและเงื่อนไข
· ดังนั้น สัญญาแยกต่างหาก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากข้อกำหนดและเงื่อนไข และจัดทำขึ้นโดยและระหว่างผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์และผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ที่มีความจำนงเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่มีผลบังคับใช้ตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบของข้อกำหนดและเงื่อนไข」สัญญาแยกต่างหากจะมีผลบังคับใช้ และมีสิทธิ์และภาระผูกพันตามที่กำหนดไว้ ตาม「พระราชบัญญัติแพ่ง」และ「พระราชบัญญัติการพาณิชย์」
ข้อกำหนดของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
-ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ต้องจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ เป็นการล่วงหน้า เพื่อช่วยให้ผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ได้ทำความเข้าใจรายละเอียดของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ก่อนทำการสรุปสัญญาดังกล่าว (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 11(1))
· การรับค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จากผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (หากผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ได้นำฝากค่ามัดจำแฟรนไชส์ของเขา/เธอ เข้าสู่บัญชีรับฝากค่ามัดจำแล้วให้ถือว่าผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ได้รับค่ามัดจำแฟรนไชส์ดังกล่าว ในวันแรกที่ทำการนำฝากค่ามัดจำ หรือในวันที่ผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ได้ตกลงกับผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ เพื่อชำระค่ามัดจำค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ตามวันดังกล่าว)
· การเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์กับผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์