THAI

แฟรนไชส์ (สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์)
สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
การสรุปสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
- เพื่อชดเชยความสูญเสียที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ได้รับ ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์อาจทำสัญญาใดก็ตามต่อไปนี้ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์") (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(1))
· สัญญาประกันการชดใช้ความเสียหาย
· สัญญาค้ำประกันหนี้สินกับสถาบันเพื่อประกันการจ่ายค่าชดเชยให้แก่สำหรับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
· สัญญาความช่วยเหลือร่วมกันกับสมาคมความช่วยเหลือร่วมกัน
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ที่ประสงค์จะทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ จะต้องไม่ส่งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการขายและข้อเท็จจริงอื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(3))
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จะต้องทำให้มั่นใจว่าสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ประสงค์จะทำสัญญานั้น ให้อยู่ในระดับเพียงพอต่อการครอบคลุมความสูญเสียกับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(4))
ข้อกำหนดของสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
- สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ประสงค์จะทำสัญญานั้น จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(7) และ「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายของพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 16-2)
· สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย จะต้องครอบคลุมการชดเชยความเสียหาย ซึ่งผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ได้รับ เนื่องจากการละเมิดต่อหน้าที่ของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ในการคืนค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เป็นต้น
· ผู้เอาประกันภัย เจ้าหนี้ หรือผู้รับผลประโยชน์จะต้องเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ที่ทำสัญญา หรือวางแผนว่าจะทำสัญญาแฟรนไชส์กับผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
· มูลค่าเงินตามสัญญาจะต้องมากกว่าเงินมัดจำค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
· สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย จะต้องไม่จำกัดวิธีการที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ซึ่งอาจแสดงเจตจำนง หรือกำหนดภาระในการพิสูจน์ให้แก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
· สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย จะต้องไม่จำกัดการชดเชยความสูญเสีย หรือความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัย ผู้ค้ำประกัน สมาคมความช่วยเหลือร่วมกัน หรือผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
· ระยะเวลาของสัญญาจะต้องมากกว่าสองเดือน และสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย จะต้องสามารถเพิกถอนได้โดยง่ายโดยไม่ก่อให้เกิดข้อเสียเปรียบแก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
· ไม่ควรมีการวางเงื่อนไขในสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย หรือความสูญเสียที่ไม่อาจคาดเดาได้แก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์หรือทำให้เขา/เธอไม่พอใจอย่างไร้เหตุผล
·ควรวางเงื่อนไขไว้ในสัญญาการการชดใช้ความเสียหายว่าผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ที่ทำสัญญา หรือวางแผนว่าจะทำสัญญาแฟรนไชส์กับผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ อาจได้รับการประกัน เงินมัดจำ เงินกองทุนช่วยเหลือร่วมได้โดยตรง
การใช้เครื่องหมายที่ระบุสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย เพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ใด ๆ ที่ทำสัญญาการการชดใช้ความเสียหาย เพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ อาจใช้เครื่องหมายเพื่อระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(5))
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ใดที่ไม่ทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหายเพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ห้ามมิให้ใช้เครื่องหมายที่ระบุถึงการสรุปสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย เพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ หรือไม่จัดทำ หรือใช้เครื่องหมายที่คล้ายกัน (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(6))
※ ในกรณีที่ ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ที่ไม่ทำสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย เพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ ให้ใช้เครื่องหมายระบุถึงการสรุปสัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย เพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ หรือจัดทำ หรือใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ ต้องโทษจำคุกโดยใช้แรงงานเป็นเวลาไม่เกินสองปี หรือ ต้องโทษปรับไม่เกินห้าสิบล้านวอน (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 41(3) อนุวรรค 3)
ข้อกำหนดค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
- สถาบันใดที่มีภาระผูกพันในการชำระค่าชดเชยให้กับผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ภายใต้สัญญาการประกันการชดใช้ความเสียหาย เพื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ จะต้องชำระค่าชดเชยดังกล่าวโดยไม่ล่าช้า เมื่อมีสาเหตุของการชำระเงิน หากสถาบันนั้น ๆ ชำระค่าชดเชยความเสียหายดังกล่าวล่าช้าทางสถาบันจะต้องชำระดอกเบี้ยการผิดนัดดังกล่าวด้วย (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 15-2(2))

ประเภทของความสูญเสียที่เกิดขึ้นโดยผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ 

1. ข้อบกพร่องในการตกแต่งภายในและค่าใช้จ่ายในการตกแต่งที่มากเกินไป 

2. การตั้งราคาวัตถุดิบหรือวัสดุประกอบที่ไม่สมเหตุสมผล 

3. การวิเคราะห์พื้นที่ธุรกิจผิดพลาด 

4. ค่าใช้จ่ายสำหรับการโฆษณาที่มากเกินไป 

5. ความล่าช้าในการจัดหาสินค้า และอื่น ๆ  

6. การละเมิดพื้นที่ขายและการจัดตั้งร้านแฟรนไชส์ที่คล้ายกัน 

7. การฝึกอบรมที่ไม่มีคุณภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่เพียงพอ และอื่น ๆ 

 

<ที่มา:การทำธุรกรรมในธุรกิจแฟรนไชส์โดยคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า (http://www.ftc.go.kr/))>