THAI

แฟรนไชส์ (สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์)
การจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล
การจดทะเบียนใหม่
- ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จะต้องจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล เพื่อส่งมอบให้กับผู้ประสงค์เข้าเป็นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ โดยยื่นเอกสารที่จำเป็นดังต่อไปนี้ต่อคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า หรือต่อนายกเทศมนตรีมหานครพิเศษ นายกเทศมนตรีมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "นายกเทศมนตรีนคร/ผู้ว่าราชการจังหวัด") (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 6-2(1) 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」มาตรา 5-2(1) และแบบฟอร์มภาคผนวก 1)
· การยื่นคำร้องขอจดทะเบียนใหม่สำหรับคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล
· คำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล (รวมถึงคำแถลงในรูปแบบของเอกสารหรือไฟล์อิเล็กทรอนิกที่ใช้ เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล)
· งบดุลและงบกำไรขาดทุนย้อนหลังสามปี (ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ไม่สามารถจัดเตรียมงบดุลได้ สามารถใช้เอกสารอื่นที่สามารถตรวจสอบยอดขายย้อนหลังสามปีได้)
· รายชื่อร้านค้าปลีกขายตรงและร้านค้าแฟรนไชส์ที่เปิดดำเนินการ ณ สิ้นงวดบัญชีก่อนหน้า (รวมถึง ตัวแทน สถานที่ วันที่สรุปสัญญาแฟรนไชส์และหมายเลขโทรศัพท์)
· สำเนาแบบฟอร์มสัญญาแฟรนไชส์ จำนวน 1 ฉบับ
· เอกสารยืนยันจำนวนเจ้าหน้าที่บริหารและพนักงานที่ทำงาน ณ สิ้นงวดบัญชีก่อนหน้า จำนวน 1 ฉบับ
· เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล ที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า
- ในการรับคำร้องขอจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้าจะทำการตรวจสอบเอกสาร โดยใช้ข้อมูลด้านการปกครองเข้าร่วมดังต่อไปนี้ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 5-2(2))
1) หนังสือรับรองแสดงรายละเอียดการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (จำกัดเฉพาะในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรน ไชส์เป็นนิติบุคคล)
2) ในกรณีที่บริษัทยื่นคำร้องขอจดทะเบียนก่อนหน้าการจดทะเบียนของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ให้ยื่นสำเนารับรองการจดทะเบียนถิ่นที่อยู่ของผู้สนับสนุนที่ประสงค์จะจัดตั้งบริษัท จำนวน 1 ฉบับ
3) หนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ (คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจตรวจสอบหนังสือรับรองดังกล่าว หรือผู้ยื่นคำร้องอาจยื่นหนังสือรับรองดังกล่าว ได้ภายใน 30 วันหลังจากวันที่คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า ได้ออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลแล้ว)
※ อย่างไรก็ตาม หากผู้ยื่นคำร้องไม่ยินยอมให้มีการตรวจสอบเอกสารตามข้อ 2) และ 3) ข้างต้น โดยใช้ข้อมูลด้านการปกครองเข้าร่วม ผู้ยื่นคำร้องจะต้องยื่นเอกสาร (สำเนาเอกสารตามข้อ 3) ด้านบน)
- เมื่อได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลแล้ว คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้าจะทำการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียน (สองเดือนหากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนและยื่นคำร้องขอจดทะเบียนอีกครั้ง) (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ส่วนเดิมของมาตรา 5-2(3))
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อมูล
- ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์มีความประสงค์จะทำการแก้ไขเนื้อหาที่รวมอยู่ในคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จะต้องจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเนื้อหาที่ รวมอยู่ดังกล่าวต่อคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า หรือต่อนายกเทศมนตรีนคร/ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอำนาจ โดยยื่นเอกสารที่จำเป็นภายในระยะเวลาที่กำหนด (「พระราชบัญญัติ ธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 6-2(2) 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 5-3(3) ภาคผนวกที่ 1-2 และแบบฟอร์มภาคผนวก 4)
· เอกสารที่กำหนด
1) คำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง จำนวน 1 ฉบับ
2) เอกสารยืนยันเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลง จำนวน 1 ฉบับ
3) หนังสือรับรองการจดทะเบียน (ใช้เฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่รวมอยู่ในหนังสือรับรอง การจดทะเบียน) จำนวน 1 ฉบับ
- วิธีปฏิบัติการยื่นคำร้อง
· เมื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อมูล คณะกรรมการความเป็นทางการค้า จะทำการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนให้แก่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ใหม่อีกครั้ง ภายใน 20 วันนับจากวันที่ยื่นคำร้อง (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 5-3(2) และ 5-2(3))
การรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
- ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์มีความประสงค์จะทำการแก้ไขเนื้อหาที่ไม่มีนัยสำคัญซึ่งอยู่ในเนื้อหาที่จดทะเบียนแล้ว ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์อาจทำรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแบบฟอร์มคำแถลงใน การเปิดเผยข้อมูล โดยแนบเอกสารที่จำเป็นภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ด้านล่าง (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ยกเว้น มาตรา 6-2(2) 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมใน ธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 5-3(5), ภาคผนวก 1-2 และแบบฟอร์มในภาคผนวกที่ 4)

การจำแนกประเภท 

เนื้อหาที่ระบุไว้ในคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล 

กำหนดเส้นตาย 

สำหรับการเปลี่ยน 

แปลงข้อมูล 

เนื้อหา 

สำหรับการรายงาน 

การเปลี่ยนแปลง 

ข้อมูล 

▪ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 2: รายการ (b) (เฉพาะในกรณีที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์) รายการ (g) (เฉพาะในกรณี ที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่บริหารอื่นที่ไม่ใช่ตัวแทน) 

▪ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 3: รายการ (a) 

▪ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 7 ของ: ทุกรายการ 

ภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นไตรมาส ที่มีสาเหตุของการ 

เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 

- วิธีปฏิบัติการยื่นคําร้อง
· ต้องจัดให้มีการรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามลำดับดังต่อไปนี้: การรับ; การตรวจสอบ; การร่างและการอนุมัติ (การรายงานและการแก้ไข); และการระบุเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงในหนังสือ รับรองการจดทะเบียน ไม่มีการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนให้ใหม่สำหรับการรายงานการ เปลี่ยนแปลงข้อมูล
- การลงโทษในกรณีที่มีการละเมิด
· ในกรณีที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ไม่ยื่นรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเนื้อหาที่ไม่มีนัย สำคัญในคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล หรือทำรายงานเท็จ ต้องโทษปรับทางปกครองไม่เกินสามล้านวอน (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจ แฟรนไชส์」 มาตรา 43(7) อนุวรรค 1)
การปฏิเสธการจดทะเบียนหรือคำร้องขอให้เปลี่ยนแปลงข้อมูล
- ในพฤติการณ์ใด ๆ ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจปฏิเสธการจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลหรือคำร้องขอการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (「พระราช บัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 6-3(1) และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 5-5)
· คำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารของการยื่นคำร้องขออื่น ๆ มีการสำแดงที่ไม่เป็นจริงหรือ ละเว้นข้อมูลที่จำเป็น
· รายละเอียดของธุรกิจแฟรนไชส์ในคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลนั้นประกอบด้วยเนื้อหาต้องห้ามโดย พระราชบัญญัติอื่น ๆ
· กรณีลงทะเบียนการเปิดเผยข้อมูลใหม่หากไม่มีร้านค้าที่จัดการโดยตรงที่ขายสินค้าหรือบริการตามมาตรฐานหรือวิธีการขายเหมือนกับธุรกิจที่ระบุในการเปิดเผยข้อมูลณ วันที่ขอจดทะเบียน หรือระยะเวลาที่ทำธุรกิจยังไม่เกิน 1 ปี(กรณีผู้บริหารของแฟรนไชส์ทำธุรกิจร้านค้าที่จัดการโดยตรงก่อนจะดำเนินการโดยแฟรนไชส์จะถือเป็นการรวมระยะเวลาที่ผู้บริหารของแฟรนไชส์ทำธุรกิจและนับเป็นช่วงเวลาที่ร้านค้าจัดการโดยตรงทำธุรกิจ)อย่างไรก็ตามกรณีต่อจากนี้ไปจะไม่ถูกใช้กับกฎข้างต้นตามเหตุผลหากได้รับการยอมรับว่าไม่จำเป็นต้องบริหารร้านค้าที่จัดการโดยตรงเช่น แฟรนไชส์จะได้รับอนุญาตหรืออนุมัติตามกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์
1. กรณีแฟรนไชส์ได้รับอนุญาตหรืออนุมัติฯลฯ หรือรายงาน·จดทะเบียนตามกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์
2. กรณีแฟรนไชส์ทำธุรกิจภายในและนอกประเทศที่อยู่ในประเภทเดียวกันการเปิดเผยข้อมูลเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป
3. นอกจากนี้กรณีคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้าเป็นผู้กำหนดและประกาศว่าไม่จำเป็นต้องทำธุรกิจร้านค้าที่จัดการโดยตรงของแฟรนไชส์ที่สอดคล้องกับข้อ1.,และข้อ 2. ข้างต้น
การเพิกถอนการจดทะเบียน
- ในพฤติการณ์ใด ๆ ดังต่อไปนี้คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้าอาจเพิกถอนการจดทะเบียน ของคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่อธิบายไว้ในข้อ 1) ด้านล่างคณะ กรรมการความเป็นธรรมทางการค้าจะต้องเพิกถอนการจดทะเบียนนั้น ๆ (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 6-4 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้สิทธิ ตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 5-6(2))
1) ได้ทำการขอจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีการฉ้อฉลหรือด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม
2) รายละเอียดของธุรกิจแฟรนไชส์ในคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูลนั้นประกอบด้วยเนื้อหาต้องห้ามโดย พระราชบัญญัติอื่น ๆ
ก.ใบปะหน้าของคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 1)
ข.สถานะทั่วไปของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 2 รายการ (a) (b) (เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์เท่านั้น) (c) ถึง (f) (g) (เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับตัวแทน) (h) ถึง (j))
ค.สถานะปัจจุบันของธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ (「การบังคับใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 3 รายการ (b) ถึง (j))
ง.การละเมิดกฎหมาย โดยผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์และเจ้าหน้าที่บริหารของแฟรนไชส์ดังกล่าว (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจ|แฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 4)
จ. ค่าใช้จ่ายของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 5)
ฉ. เงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 6)
ช. การสนับสนุนสำหรับการจัดการ กิจกรรมทางธุรกิจ และอื่น ๆ ของผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 8)
ซ. คำอธิบายเกี่ยวกับการศึกษาและการฝึกอบรม (「พระราชกำหนดการการบังคับใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 ภาคผนวก 1 อนุวรรค 9)
3) เนื้อหาสำคัญที่อยู่ภายใต้หมวดหมู่ใด ๆ ดังต่อไปนี้ ถูกละเว้นจากคำอธิบายในคำแถลงในการเปิด| เผยข้อมูล
4) ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์รายงานการเลิกการประกอบธุรกิจ
5) ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนคำแถลงในการเปิดเผยข้อมูล