THAI

แฟรนไชส์ (สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์)
แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์
แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์
- คำว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ อธิบายถึงความสัมพันธ์ต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ อนุญาตให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ป้าย หรือเครื่องหมายธุรกิจอื่น ๆ ของตนเองในการจำหน่ายสินค้า (รวมถึง วัตถุดิบและวัสดุต่าง ๆ) หรือบริการที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพหรือวิธีการทางธุรกิจที่กำหนดไว้ และให้การสนับสนุน ฝึกอบรม และควบคุมผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในเรื่องการจัดการ กิจกรรมทางธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งผู้รับสิทธิ แฟรนไชส์ชำระค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ เพื่อเป็นการตอบแทนสำหรับการใช้เครื่องหมายธุรกิจได้รับการสนับสนุน การฝึกอบรม เพื่อการจัดการ กิจกรรมทางธุรกิจอื่น ๆ ของแฟรนไชส์ดังกล่าว (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 2 อนุวรรค 1)
กิจกรรมเชิงพาณิชย์ขั้นพื้นฐาน
- ธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์) ครอบคลุมถึง "กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยได้รับความยินยอมให้ใช้ชื่อทาง การค้า เครื่องหมายการค้า เป็นต้น" และเป็นประเภทของกิจกรรมเชิงพาณิชย์ขั้นพื้นฐาน (「พระราชบัญญัติพาณิชย์」 มาตรา 46 อนุวรรค 20)
เงื่อนไขสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขทุกข้อที่ระบุไว้ด้านล่าง (「พระราชบัญญัติธุรกรรมที่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์」 มาตรา 2 อนุวรรค 1)
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์อนุญาตให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ใช้เครื่องหมายธุรกิจได้
√ บุคคลที่สามจะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายทางธุรกิจโดยอิสระ โดยไม่คำนึงถึงการ จดทะเบียนเครื่องหมายธุรกิจ
· ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการตามมาตรฐานคุณภาพหรือวิธีการทางธุรกิจที่นั้น ๆ
√หากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์มีหน้าที่เพียงการจัดหาสินค้าและอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของผู้รับสิทธิ แฟรนไชส์เท่านั้น ไม่นับเป็นธุรกิจแฟรนไชส์
· ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ให้การสนับสนุน ฝึกอบรม และควบคุมผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในเรื่องการจัดการ กิจกรรมทางธุรกิจ เป็นต้น
√ หากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายธุรกิจที่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์กำหนดไว้ได้ แต่ไม่อยู่ภายใต้ข้อเสียเปรียบใด ๆ นั้นไม่นับเป็นธุรกิจแฟรนไชส์
· ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ชำระค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์เพื่อเป็นการตอบแทน สำหรับการใช้เครื่องหมายธุรกิจ และการสนับสนุนและการฝึกอบรม เพื่อใช้สำหรับการจัดการ กิจกรรมทางธุรกิจแฟรนไชส์ดังกล่าว เป็นต้น
√ ถึงแม้ว่าผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์จัดหาสินค้าแฟรนไชส์มาในราคาที่สูงกว่าราคาขายส่ง ผู้รับสิทธิ แฟรนไชส์ยังต้องชำระค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
· ธุรกิจต่อเนื่อง
√ หากผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ให้การสนับสนุนเพียงชั่วคราว นั่นไม่นับเป็นธุรกิจแฟรนไชส์
การแบ่งแยกธุรกิจแฟรนไชส์จากแนวคิดที่คล้ายกัน
- โปรดทราบว่าธุรกรรมทางการค้า หรือ ผู้ค้าที่อยู่ภายใต้หมวดหมู่ใดก็ตามต่อไปนี้ ไม่นับเป็น“ธุรกิจแฟรนไชส์”
· ตัวแทนค้าต่าง: บุคคลที่มีกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินค้าภายใต้ชื่อของตนเอง โดยที่สินค้าเป็น ของคนอื่นและได้รับค่าคอมมิชชั่นจำนวนหนึ่งนั้นเรียกว่าตัวแทนค้าต่าง (มาตรา 101 แห่ง「พระราช บัญญัติพาณิชย์」)
· ตัวแทนการค้า: คือบุคคลที่ไม่ได้ประกอบธุรกรรมเชิงพาณิชย์ด้วยตนเอง แต่ประกอบธุรกิจในนามของผู้ค้ารายอื่น โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทน หรือ นายหน้าเพื่อผู้ค้านั้น ๆ เรียกวา ตัวแทนการค้า (「พระราชบัญญัติการพาณิชย์」 มาตรา 87)
· ธุรกิจเครือข่าย: คำว่า “ธุรกิจเครือข่าย” หมายถึงธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจขายตรง ร้านค้าปลีกหลายแห่งในประเภทเดียวกันของธุรกิจ (หมายถึง เป็นการดำเนินโดยตรงของร้านค้า ภายใต้ความรับผิดชอบและเป็นไปตามการคำนวณในร้านค้าของตนเอง หรือในร้านค้าเช่า ซึ่งมีผลบังคับใช้ตรงกันดังต่อไปนี้) หรือที่จัดจำหน่ายสินค้า วัตถุดิบ หรือ ให้บริการแก่ร้านค้าปลีกหลายแห่งในประเภทเดียวกันของธุรกิจ โดยในขณะเดียวกัน ก็ให้การช่วยเหลือทางด้านการจัดการ ให้คำปรึกษาไปด้วย (「พระราชบัญญัติการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบกระจายตัว」 มาตรา 2 อนุวรรค 6)