THAI

ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าออนไลน์
พฤติกรรมต้องห้าม
พฤติกรรมต้องห้ามสำหรับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าออนไลน์
- ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ต้องละเว้นจากพฤติกรรมใด ๆ ต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 21(1), 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 26 และมาตรา 27 และ 「กฎระเบียบการบังคับใช้ตามพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 11-3)
1. หลอกล่อผู้บริโภค สรุปข้อตกลงกับผู้บริโภค หรือแทรกแซงการยกเลิกของลูกค้าเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ หรือการยกเลิก สัญญา โดยการให้ข้อมูลที่เกินจริงหรือเป็นเท็จ หรือโดยใช้วิธีหลอกลวง
2. เปลี่ยนหรือปกปิดที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อโดเมนอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแทรกแซงการยกเลิก คำสั่งซื้อและสัญญา
3. ก่อให้เกิดความเสียหายให้กับผู้บริโภค โดยละเลยการแก้ไขปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคล หรือสิ่งอำนวย ความสะดวกที่จำเป็นต่อการแก้ไขข้อพิพาท หรือข้อร้องเรียนเป็นระยะเวลานานเกินควร
4. จัดหาสินค้าเพียงฝ่ายเดียว แม้ผู้บริโภคไม่มีความประสงค์ชัดเจนในการสั่งซื้อ และร้องขอให้ผู้บริโภคชำระเงิน ซึ่งตามมาภายหลัง หรือร้องขอให้ชำระเงินโดยไม่ได้จัดหาสินค้า
5. บังคับให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าทางโทรศัพท์ โทรสาร การสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แม้ว่า ผู้บริโภคจะได้แสดงออกชัดเจนว่าไม่ต้องการจะซื้อ
6. ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค หรือเกินขอบเขตความยินยอมดังกล่าว อย่างไร ก็ตาม ไม่มีผลบังคับใช้กับกรณีดังต่อไปนี้
ก. เมื่อการส่งมอลหรือการส่งต่อสินค้า ให้กับบุคคลซึ่งได้รับการมอบหมายจากผู้บริโภค
ข. เมื่อทำการส่งมอบการติดตั้งสินค้าบริการหลังการขาย และให้บริการอื่นตามสัญญา ให้กับบุคคลที่ได้รับการมอบหมายจากผู้บริโภค
ค. เมื่อมีความจำเป็นสำหรับการชำระเงินที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินค้า
ง. เมื่อได้ส่งให้กับบุคลใดบุคคลหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เพื่อยืนยันตัวตนของลูกค้า ชื่อจริง และเจตนาที่แท้จริง
1)ผู้ประกอบการด้านการสื่อสารหลัก ภายใต้「พระราชบัญญัติธุรกิจโทรคมนาคม」มาตรา 5(3) อนุวรรค 1
2) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้บริษัทข้อมูลเครดิตกิจการ และบริษัทจัดการข้อมูลเครดิตส่วนบุคคล ตามที่ระบุใน「พระราชบัญญัติการใช้และคุ้มครอง ข้อมูลเครดิต」.
3)ผู้ประกอบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงในการชำระเงินของการทำธุรกรรม
4)ผู้ที่ประกอบธุรกิจในการตรวจสอบความถูกต้องของชื่อจริง เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการขโมยข้อมูล ส่วนบุคคล โดยได้รับอำนาจหรือได้รับอนุญาต ตามที่กำหนดไว้โดพระราชบัญญัติ และกฎหมายรองอื่น ๆ
จ. เมื่อถูกนำไปใช้เพื่อยืนยันความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมในการทำธุรกรรมร่วมกับผู้เยาว์
7. จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้บริโภค หรือไม่ได้ให้คำอธิบาย และการแจ้งเตือนที่ง่ายและชัดเจนแก่ผู้บริโภค ถึงความสำคัญ เช่น ความสามารถ การทำงาน ผลกระทบต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ และวิธีการลบออกก่อนที่จะมีการติดตั้งโปรแกรมดังกล่าว
การลงโทษการละเมิด
- ผู้ใดมีพฤติกรรมตามข้อ 1 ถึง 5 ข้างต้น ต้องโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 45(3) อนุวรรค 2)
- ผู้ใดมีพฤติกรรมตามที่ระบุในข้อ 1 ถึง 6ข้างต้น คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจออกคำสั่งให้ดำเนิน การตามมาตรการแก้ไขได้ หากมีการกระทำการดังกล่าวซ้ำ เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ภายใต้「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」แม้ว่าจะได้รับคำสั่งให้ดำเนิน การตามมาตรการแก้ไขแล้ว คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจสั่งให้ระงับการดำเนินธุรกิจทั้งหมด หรือบางส่วน หรือใช้มาตรการสั่งปรับกับผู้ดำเนินธุรกิจได้ (「พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」มาตรา 32(1) อนุวรรค 1 มาตรา 32(4) และมาตรา 34(1))