THAI

ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าออนไลน์
รายงานในฐานะผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์
การแจ้งเบื้องต้นสำหรับการเริ่มดำเนินธุรกิจ
- ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ต้องระบุเนื้อหาต่อไปนี้ ในรายงานสำหรับผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ และยื่นรายงานดังกล่าวต่อ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ หรือ นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานเขต ที่มีเขตอำนาจในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานหลัก ที่จดทะเบียน (ในกรณีที่สำนักงานหลักตั้งอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อ คณะกรรมการความเป็นธรรม ทางการค้า) เป็นช่องทางในการรายงานธุรกิจของตนในฐานะผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ (「พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 12(1),「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 13(1) และมาตรา 15 และ「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 8(1))
- หากผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ต้องการดำเนินธุรกิจคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์แบบชำระล่วงหน้าตามรายงานด้านบนต้องแนบเอกสารประกอบดังต่อไปนี้ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 13(1) และ「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 8(2))
· เอกสารยืนยันการใช้บริการระบบการซื้อสินค้าที่มีความปลอดภัยหรือชำระค่ามัดจำจำนวนหนึ่ง เพื่อตรวจสอบ การ ใช้งานระบบเอสโครว์หรือสรุปสัญญาประกันการชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค
· เอกสารแจกแจงการทำธุรกรรมการชำระค่าสินค้า โดยบัตรเครดิต การทำธุรกรรมการซื้อสินค้า ซึ่งได้ส่งผ่าน เครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร หรือการส่งที่ไม่สามารถยืนยันได้โดยบุคคลที่สาม การทำธุรกรรมการ ซื้อสินค้าซึ่งผ่อนชำระตามงวดการชำระที่กำหนด ซึ่งเป็นการซื้อที่ได้รับการประกันความปลอดภัยโดยพระราช บัญญัติอื่น หรือการทำธุรกรรมร่วมกับสถาบันแห่งชาติ หรือรัฐบาลท้องถิ่น สถาบันของรัฐ และบริษัทและโรงเรียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายใต้กฎหมายพิเศษ
- การลงโทษการละเมิด
· ในกรณีที่ผู้ใดไม่ยื่นรายงานหรือยื่นรายงานเท็จ ในฐานะผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ จะต้องโทษปรับ ไม่เกิน 30 ล้านวอน นอกจากนี้ หากผู้ใดไม่ยื่นรายงานในฐานะผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อหลักคณะกรรมการ ความเป็นธรรมทางการค้าอาจมีคำสั่งให้ต้องดำเนินการตามมาตรการแก้ไขและหากผู้ประกอบการดังกล่าว ยังไม่ยื่นรายงาน แม้ว่าคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า ได้สั่งให้ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขแล้ว คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจสั่งให้ระงับการดำเนินธุรกิจดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจ สั่งให้ผู้ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องชำระค่าปรับได้ (「พพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 32(1) อนุวรรค 1 มาตรา 32(4) มาตรา 34(1) และมาตรา 42 อนุวรรค 1)
การแจ้งการเปลี่ยนแปลง
- ผู้ที่มีความประสงค์แจ้งการเปลี่ยนแปลง ต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อนายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ หรือนายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานเขต (หากสำนักงานหลักตั้งอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า) ภายใน 15 วัน นับจาก วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้น ตามช่องทางการรายงานธุรกิจ ในฐานะผู้จัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทาง ไปรษณีย์ (「พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 12(2), 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายตามพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 16(1) และ「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 9)
· หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์
· เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานยืนยันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
· เอกสารรับรองธุรกิจจัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ (ใช้เฉพาะกรณีเนื้อหาในรายงานมีการเปลี่ยนแปลง)
- การลงโทษการละเมิด
· ในกรณีที่ไม่ส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจจัดจำหน่ายตามคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ของตน จะต้องโทษปรับ ไม่เกิน 5 ล้านวอน นอกจากนี้ หากผู้ใดไม่ยื่นรายงานการเปลี่ยนแปลง ในธุรกิจจัดจำหน่ายตามคำสั่ง ซื้อทางไปรษณีย์ คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจมีคำสั่งให้ต้องดำเนินการตามมาตรการแก้ไข และหากผู้ประกอบการดังกล่าวยังไม่ยื่นรายงาน แม้ว่าคณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า จะได้สั่งให้ ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขแล้ว คณะกรรมการความเป็นธรรมทางการค้า อาจสั่งให้ระงับการดำเนินธุรกิจ ดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนได้(「พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 32(1) อนุวรรค 1 มาตรา 32(4) มาตรา 34(1) และมาตรา 45(4) อนุวรรค 3)