THAI

การทำธุรกิจร้านเสริมสวย – การดำเนินงาน
ภาระการควบคุมด้านสุขอนามัยของผู้ดำเนินกิจการร้านเสริมสวย
การควบคุมด้านสุขอนามัย
-ผู้ดำเนินกิจการร้านเสริมสวยต้องหมั่นดูแลรักษาสถานประกอบการ และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องการประกอบการให้สะอาดและปลอดภัย ไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน (「พระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 4(1) และ (4))
· ต้องจัดให้มีบริการเสริมสวย แต่งหน้า โดยไม่ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์และยาใด ๆ
· ต้องจัดเก็บอุปกรณ์เสริมสวยที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว แยกออกจากอุปกรณ์ที่ไม่ต้องฆ่าเชื้อ ใบมีดโกนก็ใช้แค่ 1 ครั้ง สำหรับลูกค้าเพียง 1 คนเท่านั้น
· ต้องติดใบอนุญาตช่างเสริมสวยแสดงไว้ภายในสถานประกอบการ
การฆ่าเชื้ออุปกรณ์เสริมสวย
- เกณฑ์และวิธีการฆ่าเชื้อสำหรับอุปกรณ์เสริมสวยดังต่อไปนี้ [「พระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 4(4) 「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 5, ภาคผนวก 3 และ 「เกณฑ์และวิธีการฆ่าเชื้อสำหรับการใช้งานอุปกรณ์เสริมสวย」 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการหมายเลข 2021-2 ประกาศและบังคับใช้ในวันที่ 5 มกราคม 2021)]

ชื่ออุปกรณ์ 

ระดับความเสี่ยง 

วิธีฆ่าเชื้อ 

▪ กรรไกร 

▪ ปัตตาเลี่ยน 

▪ ที่ดุนหนัง 

▪ หวี 

เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสผ่านการติดเชื้อ ทางผิวหนังและเลือด 

▪ กำจัดสิ่งแปลกปลอมและเส้นผมที่ติดอยู่บนพื้นผิว 

▪ เช็ดพื้นผิวรอบใบมีดด้วยทิชชู่สะอาดหรือผ้ากอซที่ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อ 

▪ เช็ดน้ำออกด้วยผ้าแห้งหรือผ้ากอซ 

▪ ยางลาเท็กซ์ 

▪ แผ่นพัฟ 

▪ ฟองน้ำ 

เสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านผู้ที่มีเชื้อโรค หรือติดเชื้อด้วยตัวเอง 

▪ เช็ดสิ่งแปลกปลอมบนพื้นผิวด้วยผ้า 

▪ หลังจากทำความสะอาดให้แช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที แล้วปล่อยน้ำล้างออก และเช็ดให้แห้ง 

▪ ฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลต แล้วเก็บในภาชนะแยกต่างหาก 

การลงโทษสำหรับการละเมิด
- มาตรการทางการปกครอง
· นายกเทศมนตรีเขตเมืองพิเศษ เมืองใหญ่ ผู้ว่าการัฐ(ต่อไปนี้จะเรียกว่า ‘นายกเทศมนตรี-ผู้ว่ารัฐ’) หรือ นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานเขต ต้องออกคำสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการร้านเสริมสวยที่ละเมิดภาระการควบคุมด้านสุขอนามัยให้ทำการปรับปรุงในทันที หรือในเวลาที่กำหนด แต่ไม่เกิน 6 เดือนในการปรับปรุง (「พระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 10 วรรค 2 และ 「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 17(1))
· นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานเขต อาจมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการร้านเสริมสวยที่ละเมิดต่อภาระการควบคุมด้านสุขอนามัย ให้ระงับกิจการ หรือระงับสถานประกอบการบางส่วน ภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่เกิน 6 เดือน หรือสั่งปิดสถานประกอบการได้ (「พระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 11(1) วรรค 4)
- ค่าปรับทางปกครอง
· บุคคลที่ไม่ปฎิบัติตามภาระการควบคุมด้านสุขอนามัยของสถานประกอบการเสริมสวย เป็นการละเมิดต่อพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 2 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข」 มาตรา 22(2) วรรค 2)