THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ(สมาชิกในที่ทำงาน)
การจำกัดสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อจำกัดของผลประโยชน์ประกันภัยเนื่องจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
- บริษัทประกันสุขภาพแห่งชาติ(จากนี้ไปเรียกว่า “บริษัท”) ผู้ที่สามารถรับผลประโยชน์ประกันหากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ จะไม่สามารถรับประโยชน์การประกันภัยได้(「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53(1)).
· กรณีที่เป็นสาเหตุของอาชญากรรมที่เกิดจากความตั้งใจหรือความประมาทร้ายแรงทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น
· โดยไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการักษาพยาบาลของสถานบาลเนื่องจากข้อผิดพลาดโดยเจตนาหรือความประมาท
· โดยการเจตนาหรือความประมาทอย่างร้ายแรงตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」มาตรา 55 ปฎิเสธที่จะส่งเอกสารหรือรายการอื่นๆภายใต้ขอ้ตกลงนี้หรือหลีกเลี่ยงคำถามหรือการวินิจฉัย
· หากคุณได้รับผลประโยชน์ประกันหรือค่าชดเชยตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย·บาดเจ็บ·ภัยพิบัติที่เกิดจากการทำงานหรือบริการสาธารณะ
- หากผู้รับผลประโยชน์ได้รับผลประโยชน์ที่เทียบเท่ากับผลประโยชน์จากรัฐหรือเขตเทศบาลเมืองตามกฏหมายอื่นหรือได้รับเงินเท่ากับผลประโยชน์ทางบริษัทก็จะไม่จ่ายเงินประกันตามวงเงินนั้น(「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53(2)).
ข้อจำกัดของผลประโยชน์ประกันเนื่องจากเบี้ยประกันที่ค้างชำระ
- ผู้เอาประกันค้างชำระเบี้ยประกัน 1เดือนขึ้นไปของเบี้ย ประกันจากรายได้ต่อเดือน จนกว่าคุณจะจ่ายเบี้ยประกัน ที่ค้างชำระทั้งหมดทางบริษัทสามารถที่จะไม่จ่ายเบี้ยประกันแก่ผู้เอาประกันหรือผู้อยู่ในความอุปการะ(คู่สมรสและเชื้อ สายตรง·ทายาท เช่นเดียวกัน)ได้ แต่ว่า, โดยไม่คำนึง ถึงระยะเวลาการค้างจ่ายค่าเบี้ยประกัน รายเดือนรวมน้อยกว่า 6ครั้ง รายได้และทรัพย์สินของคนงานและผู้ติดตามจะไม่ ถูกจำกัดผลประโยชน์ที่ได้ ตาม「พระราชกำหนด การบังคับใช้กฏหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพ แห่งชาติ」 มาตรา26)กรณีที่จำนวนครั้งที่ค้างจ่ายเบี้ยประกัน ต่อเดือนทั้งหมดน้อยกว่า 6เดือนคุณจะไม่ถูกจำกัดผล ประโยชน์ประกันภัย (เบี้ยประกันภัยค้างที่ค้างชำระไปแล้วจะไม่รวมอยู่ในจำนวนการชำระล่าช้าทั้งหมดและไม่พิจารณาช่วงเวลาที่ค้างชำระของเบี้ยประกัน) (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพ แห่งชาติ」 มาตรา 53(3)ข้อย่อย1, มาตรา 69(4) ข้อย่อย 2 และ「พระราชกำหนดการบังคับใช้ กฏหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 26)
- ในกรณีที่ผู้ใช้บริการค้างจ่ายเงินเบี้ยประกันจากรายได้ต่อเดือนเนื่องจากผู้เอาประกันไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุผลสำคัญใดๆ เกี่ยวกับยอดเงินเบี้ยประกันที่ค้างจ่ายนั้น ทางบริษัทสามารถที่จะไม่จ่ายเบี้ยประกันให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้ที่อยู่ในความอุปการะได้ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53(4))
- แม้จะมีบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ตาม หากคุณได้รับอนุมัติให้แบ่งจ่ายเบี้ยประกันที่ค้างชำระมา และคุณได้จ่ายเบี้ยประกันไป หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว 1ครั้งขึ้นไป ทางบริษัทสามารถที่จะจ่ายเบี้ยประกันให้คุณได้ แต่ว่า, หากบุคคลที่ได้รับอนุมัติให้แบ่งจ่ายเบี้ยประกันแล้วไม่มีการจ่ายเบี้ยประกันติดต่อกัน 5ครั้งหรือมากกว่า (ถ้าจำนวนครั้งที่ค้างชำระของบุคคลที่ต้องชำระเบี้ยประกันนั้นตามพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 53 (1) กำหนดให้น้อยกว่าห้าครั้งได้ ให้ใช้จำนวนที่น้อยกว่านั้น) (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 (5))
- ในช่วงระยะเวลาที่คุณไม่จ่ายค่าประกัน (ต่อไปเรียกว่า “ระยะเวลาจำกัดการจ่าย”)ได้รับสิทธิประโยชน์ประกันเฉพาะในกรณีข้อใด ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ที่จะยอมรับให้มีสิทธิประโยชน์ประกันได้ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」มาตรา 53(6))
· ช่วงระยะเวลาจำกัดการจ่ายหากคุณได้รับสิทธิประโยชน์ประกัน บริษัทได้แจ้งแก่ผู้เอาประกันนับตั้งแต่2เดือนผ่านไปแล้วหากคุณชำระเงินเต็มจำนวนเบี้ยประกันครบภายในวันที่ครบกำหนดของเดือน
· ช่วงระยะเวลาจำกัดการจ่ายหากคุณได้รับสิทธิประโยชน์ประกัน บริษัทได้แจ้งแก่ผู้เอาประกันนับตั้งแต่2เดือนผ่านไปแล้วหากคุณได้มีการชำระเบี้ยประกันที่ค้างไว้โดยการอนุมัติแบ่งจ่ายมากกว่า1ครั้งขึ้นไป(แต่ทว่า,ยกเว้นถ้าบุคคลที่ได้รับอนุมัติให้แบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันที่ค้างชำระแล้วแต่ไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันที่อนุมัติให้แล้วมากกว่า5ครั้งขึ้นไปโดยไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล)