THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ(สมาชิกในที่ทำงาน)
ผลประโยชน์สำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ
รการสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ
- ผู้ยื่นขอสมัครประกัน หรือผู้อยู่ในอุปการะของเขา/เธอที่ขึ้นทะเบียนในฐานะบุคคลผู้พิการ ตามกฎหมายว่าด้วยสวัสดิการของผู้พิการ สามารถรับผลประโยชน์สำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการจากกรม (มาตรา 51(1) ของกฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ).
จำนวนเงินประกันสำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือ
- ภาระของบริษัทเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยคนพิการ มีดังต่อไปนี้(「กฎการบังคับใช้กฏหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ」มาตรา 26(1) และ ตารางที่7 ข้อย่อย 2 และ3 ภาคผนวก).

การจำแนก

จำนวนเงินประกันช่วยเหลือ

รถเข็นทั่วไป, เครื่องช่วยฟัง,เก้าอี้รถเข็นไฟฟ้า, สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า, อุปกรณ์ช่วยท่าทาง เบาะรองนั่งป้องกันแผลกดทั, ที่นอนป้องกันแผลกดทับ,ลิฟต์ไฟฟ้าสำหรับเคลื่อนที่ และรถเข็นหัดเดินหน้า·หลัง

▪ จำนวนเงินที่เทียบเท่า 90ใน100ส่วนของจำนวนเงินขั้นต่ำ ในกลุ่มต่อไปนี้ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า"จำนวนเงินมาตรฐานที่ชำระ")

 ก.จำนวนที่กำหนดและประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือแต่ละประเภท

 ข.จำนวนที่ประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสำหรับสินค้าแต่ละชนิดโดยพิจารณาจากผลการประเมินการให้

 ค. จำนวนการซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องโดยลูกจ้างที่ประกันตนและผู้ประกันตนอิสระ

อุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ(วีลแชร์แบบใช้มือ ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน ตาเทียม ฯลฯ)

▪ จำนวนเงินที่เทียบเท่า 90ใน100ส่วนจำนวนเงินขั้นต่ำ ในกลุ่มต่อไปนี้

 ก.จำนวนที่กำหนดและประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือแต่ละประเภท

 ข. จำนวนการซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องโดยลูกจ้างที่ประกันตนและผู้ประกันตนอิสระ

- อย่างไรก็ตาม บุคคลที่เป็นโรคที่รักษายากหรือรุนแรง(ต่อไปนี้จะเรียกว่า "โรคที่รักษายากหรือรุนแรง") แห่งพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติเอกสารแนบ 2 ข้อ 3 หรือผู้ที่ได้รับการรักษามากกว่า 6 เดือนสำหรับโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคที่รักษายากหรือรุนแรงหรือบุคคลหรือเด็กอายุต่ำกว่า18 ปีที่จำเป็นต้องรักษามากกว่า 6 เดือน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้ป่วยที่มีโรคที่รักษายากและโรคที่รักษาไม่หาย") ที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายได้การให้การช่วยเหลือ เป็นต้น และกรณีบุคคลที่ได้รับการลดหย่อนบางส่วน จะเท่ากับ 100/100 ของจำนวนเงินมาตรฐานที่ชำระ (มาตรา 26 วรรค 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ ตารางแนบ 7 ข้อ 2 และ 3)