การจัดการความปลอดภัยของรถไฟฟ้าใต้ดินทำงานอย่างไร?
การจัดการความปลอดภัยของรถยนต์รถไฟฟ้าใต้ดินและสิ่งอำนวยความสะดวกรถไฟใต้ดิน
- ผู้ดำเนินการรถไฟฟ้าใต้ดินและผู้จัดการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน(ต่อไปนี้เรียกว่า "ผุ้ดำเนินการรถไฟใต้ดิน". ยกเว้นสำหรับผู้ดำเนินการรถไฟโดยเฉพาะ) ถ้าต้องการที่จะใช้งานรถไฟใต้ดินหรือจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกที่สถานีรถไฟใต้ดิน, บุคคลากรลสิ่งอำนวยความสะดวก,ยานพาหนะ,อุปกรณ์การปฎิบัติงาน,การฝึกอบรมและการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น ระบบจัดการความปลอดภัยของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน(จากนี้ไปเรียกว่า "ระบบการจัดการความปลอดภัย") จะต้องได้รับอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินและการขนส่งและการท่องเที่ยว(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」มาตรา 7(1) และ (3) เนื้อหาหลัก).
· ถ้ามีการดำเนินการของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินโดยที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากระบบการจัดการความปลอดภัย ผู้ที่จัดการสิ่งอำนวยความสะดวกรถไฟฟ้าใต้ดินจะต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน3ปีหรือถูกปรับไม่เกิน30ล้านวอน(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา79(2)ข้อย่อย 1), บุคคลที่ได้รับอนุมัติโดยระบบการจัดการความปลอดภัยด้วยการปลอมหรือการหลอกลวงอื่นๆนั้น จะถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี หรือปรับไม่เกิน 20ล้านวอน(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา79(3) ข้อย่อย1).
- ถ้าผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินหรือจัดการสิ่งอำนวจความสะดวกรถไฟใต้ดิน จะต้องดำเนินการเพื่อรักษาระบบการจัดการความปลอดภัย ที่ได้รับการอนุมัติตามข้อบังคับข้างต้น(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา8(1)).
· ผู้ใดทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญหรือเห็นได้ชัดในการดำเนินการของรถไฟใต้ดินหรือการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานีรถไฟใต้ดิน จะต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน2ปีหรือปรับไม่เกิน 20ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความ ปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา79(3) ข้อย่อย2).
<ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเช่น ไฟไหม้ ให้ทำการรับมือเช่นนี้ !>
· ถ้ามีควันออกมาหรือมีไฟไหม้เกิดขึ้นที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีโดยผ่านทางโทรศัพท์ฉุกเฉินที่เพลตฟอร์มนั้น.
· กรุณาหลบภัยตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างสงบ.
√ การหลบภัยบนพื้นดิน : ให้หลบหนีไปตามเส้นทางแสงที่บันได้เป็นแถว. ใช้ผ้าเช็ดหน้าเปียก, แขนเสื้อผ้าปิดปาก และทำตัวให้ต่ำแล้วเคลื่อนหลบภัยไป.
√ การหลบภัยทางอุโมงค์ : หลังจากเปิดประตูไปยังจุดสิ้นสุดของแพลตฟอร์มให้อพยพไปตามทาง. ใช้ผ้าเช็ดหน้าเปียก, แขนเสื้อผ้าปิดปาก และทำตัวให้ต่ำแล้วเคลื่อนหลบภัยไป.
· โทรศัพท์เรียกฉุกเฉิน, ไฟฉายฉุกเฉิน, หน้ากากก๊าซนิวเคลียร์, สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เครื่องดับเพลิงในสถานีรถไฟฟ้า ใต้ดินสามารถดูได้จาก <บล็อกอย่างเป็นทางการของ บริษัทขนส่งกรุงโซล>.
<แหล่งที่มา : บริษัทการขนส่งกรุงโซล>
การจัดการความปลอดภัยมีการจัดการอย่างไร?
การระงับการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน
- หากปฎิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้การดำเนินการของสถานีรถไฟใต้ดินอาจถูกระงับชั่วคราวได้ หากได้รับทราบว่ามีการรบกวน การทำงานเกี่ยวกับการให้ความปลอดภัยของขบวนรถไฟ(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา40(1)).
· กรณีเมื่อภัยพิบัติคาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นดินไหว,ไต้ฝุ่น, ฝนตกหนัก, หิมะตกหนัก เป็นต้น หรือภัยพิบัติเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
· นอกจากนี้หากคาดว่าจะเกิดขึ้นหรือคาดว่าจะมีอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการรถไฟ
ข้อห้ามในการพกพาสินค้า
- ไม่ว่าใครก็ตามที่มีรายการต่อไปนี้อาวุธ, วัตถุระเบิด,วัตถุอันตราย หรือสารไวไฟสูง หรือวัสดุที่ทำให้ผู้โดยสารเกิดความเสียหาย (ต่อไปนี้จะเรียกว่า"สิ่งของภยันตราย") ซึ่งเป็นสิ่งของที่ไม่สามารถพกพาไปที่สถานีรถไฟใต้ดินได้ (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา42 และ「กฎเกณฑ์การบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยทางรถไฟ」มาตรา78(1)).
1. วัตถุระเบิด
2. ก๊าซแรงดันสูง
3. ของเหลวไวไฟ
4. วัตถุที่ติดไฟได้
5. วัสดุออกซิเดชั่น
6. วัสดุที่เป็นพิษวัสดุที่ง่ายต่อการพกพา
7. วัสดุกัมมันตรังสี
8. วัสดุที่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตหรือสารกัดกร่อนที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวโครงรถไฟ
9. วัสดุที่ทำให้เกิดอาการชาหรืออาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายมีผลทำให้พนักงานไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
10. ปืนดาบ·อาวุธที่คล้ายกัน
11. นอกเหนือจาก1ถึง10ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สารที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือ ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัตถุที่อยู่ในรถไฟ
- พนักงานรถไฟคือบุคคลที่สามารถเคลื่อนย้ายคนที่นำสิ่งของภยันตรายมาไว้ที่รถไฟหรือนำสิ่งของออกจากขบวนรถไฟได้(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา50 ข้อย่อย1)
- บุคคลที่ถือหรือบรรทุกสินค้าบนรถไฟโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จะต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 2ปีหรือปรับไม่เกิน20ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา79(3) ข้อย่อย16).
การค้นหาความปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
- ตำรวจพิเศษของทางรถไฟอาจทำการตรวจต้นตัวบุคคลทรัพย์สิน หรือสัมภาระของผู้โดยสารเพื่อรักษาความปลอดภัยหรือการปฏิบัติการของสถานีรถไฟใต้ดิน(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 48-2(1)).
· หากมีเหตุผลอันสมควรที่ถือว่าจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพิเศษของการรถไฟสามารถใช้กุญแจมือ, เชือกมัดนักโทษ, พ่นแก๊ส, ไฟฟ้าช็อต, ไม้กระบอง เป็นต้น หากจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 48-5 (1)(2)).
· พนักงานรถไฟสามารถอพยพคนที่ไม่ได้ติดตามการรักษาความปลอดภัยข้างต้นออกจากรถไฟหรือสถานีรถไฟใต้ดินได้ (「พระราชบัญญัติความ ปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา50 ข้อย่อย6).
ปฎิบัติตามคำแนะนำชองพนักงานรถไฟอย่างเคร่งครัด
- เมื่อใช้รถไฟหรือสถานีรถไฟใต้ดิน จะต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของพนักงานรถไฟเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัย,การป้องกันและการบำรุงรักษาทางรถไฟ(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา49(1)).
· พนักงานรถไฟอาจอพยพบุคคลที่ไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเป็นทางการของพนักงานรถไฟนอกรถไฟหรือสถานีรถไฟใต้ดินได้ (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา50 ข้อย่อย7).
· บุคคลที่ไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำของพนักงานรถไฟจะถูกปรับโดยเสียค่าปรับไม่เกิน10ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา82(1)ข้อย่อย14).
- บุคคลใดก็ตามทำร้ายหรือข่มขู่และขัดขืนการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานรถไฟ(「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา49(2)).
· พนักงานรถไฟอาจขับไล่ผู้ที่ขัดขวางการปฎิบัติหน้าที่ให้นอกรถไฟหรือออกจากสถานีรถไฟใต้ดินได้ (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา50 ข้อย่อย7).
· บุคคลที่ขัดขวางการปฎิบัติหน้าที่ด้วยการทำร้ายหรือข่มขู่เจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน5ปีหรือปรับไม่เกิน50ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา79(1)).
ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ที่สถานีรถไฟใต้ดิน !
ไม่สามารถปฎิบัติตนดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ที่สถานีรถไฟใต้ดินได้ (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา47(1), 「กฎเกณฑ์การบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยทางรถไฟ」มาตรา79 และ มาตรา80).
1. การเข้าสู่สถานที่ต้องห้ามสำหรับผู้โดยสาร เช่น ห้องควบคุม,ห้องเครื่องจักร,ห้องเครื่องไฟฟ้า,ห้องกระจายเสียงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
2. การใช้อุปกรณ์หรืออุปกรณ์ของรถราง เช่น กดปุ่มหยุดฉุกเฉินระหว่างการทำงานหรือการเปิดประตูลิฟต์ที่ด้านข้างของรถรางโดยไม่ไม่เหตุผลอันสมควร
3. การโยนสิ่งของออกจากรถไฟซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ด้านนอกรถไฟ
4. การกระทำของการสูบบุหรี่
5. การกระทำเพื่อล่วงละเมิดทางเพศต่อพนักงานรถไฟและผู้โดยสาร
6. การดื่มสุราหรือรับประทานยาแล้วทำร้ายผู้อื่น
7. การถือครองสัตว์หรือพืชโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยขึ้นรถไฟอาจมีผลทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้
8. ผู้ที่มีโรคติดเชื้อตามกฎหมายนั่งรถไฟโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานรถไฟ
9. การกระทำที่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้โดยสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานรถไฟ เช่น การขอบริจาค, การขายสินค้า, การแจกจ่าย หรือกล่าวสุนทรพจน์หรือคำเชิญจากผู้โดยสาร
- พนักงานขับรถ,ลูกเรือผู้โดยสารหรือพนักงานสถานีผุ้โดยสารอาจบันทีก, ถ่ายวีดีโอหรือถ่ายรูป และทำการห้ามสำหรับผู้ที่ได้กระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นได้หากจำเป็น พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ มาตรา47(2)
สามารถถูกลงโทษเช่นนี้ได้.
- พนักงานรถไฟอาจโยกย้ายสิ่งของหรือถอดถอนบุคคลที่ได้ปฎิบัติตามห้ามข้างต้นและผู้ที่อยู่นอกรถไฟหรือสถานีรถไฟใต้ดินได้ (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา50 ข้อย่อย 4).
- ผู้ใดละเมิดข้อ 1 และข้อ 3 เข้าออกในบริเวณพื้นที่หวงห้าม หรือขว้างปาสิ่งของออกนอกตู้รถไฟโดยสาร มีโทษปรับไม่เกิน 5 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 82(2) ข้อย่อย 8).
- ผู้ใดละเมิดข้อ 2 กดปุ่มหยุดรถไฟฉุกเฉิน หรือเปิดประตูทางเข้าออกขณะที่รถไฟกำลังวิ่ง มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 79( 3) ข้อย่อย 18).
- ผู้ใดละเมิดข้อ 4 สูบบุหรี่ในตู้โดยสาร มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 82(4)ข้อย่อย 2).
- ผู้ใดละเมิดข้อ 5 ทำอนาจารทางเพศ มีโทษปรับไม่เกิน 5 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 79(5)).
- ผู้ใดละเมิดข้อ 6 ดื่มสุรา,ของมึนเมา หรือใช้สารเสพติดจนอาจก่อให้เกิดความอันตรายต่อผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 79 (4) ข้อย่อย 12 ).
- ผู้ใดละเมิดข้อ 7 ทำพฤติกรรมอันก่อให้เกิดความอันตรายต่อสาธารณชนหรือผู้โดยสาร มีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนวอน (「พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางรถไฟ」 มาตรา 82 (5) ข้อย่อย 2 ).