การขนส่งผู้อ่อนแอ, ต้องเอาใจใส่อย่างไร?
มีการติดตั้งอุปกรณ์เคลื่อนที่.
- "สถานที่ขนส่ง"คือ การติดตั้งรถเข็นขึ้นลงรถ, ลิฟท์สำหรับคนพิการ, ทางเดินสำหรับผู้พิการ, ห้องพักที่หญิงตั้งครรภ์สามารถให้นมลูกได้ เป็นต้น ระบบขนส่งผู้อ่อนแอ, หมายถึงการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้สะดวกในการเดินทางเมื่อใช้ถนน(「การส่งเสริมการขนส่งกฎหมายการขนส่งของผู้ด้อยโอกาส」มาตรา2ข้อย่อย7).
มีการรับประกันเส้นทางรถประจำทางที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย.
- ผู้ประกอบการขนส่งทางรถโดยสารประจำทางต้องมีเวลาเพียงพอในการขึ้นและลงรถเพื่อให้แน่ใจว่ารถโดยสารปลอดภัยและสะดวกในการเดินทาง, ต้องให้ความสะดวกในการขึ้นลงรถ, กรณีรถเมล์ที่มีระดับพื้นต่ำหรือรถเมล์ที่มีที่ติดตั้งอำนวยความสะดวกสำหรับรถเข็นคนพิการ(ต่อไปนี้ จะเรียกว่า "รถโดยสารพื้นต่ำ") ต้องมีการจัดลำดับการจัดส่งเวลาของรถธรรมดากับรถโดยสารพื้นต่ำอย่างเหมาะสม(「รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้อ่อนแอ」มาตรา14 (1)).
<รูปภาพการขึ้นรถประจำทางแบบต่ำมีทางขึ้นลง>
- ผู้ประกอบการที่ต้องการใช้งานรถโดยสารพื้นต่ำจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์ก่อน(「รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้ด้อยสมรรถภาพ」มาตรา14(2) และ 「พระ ราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร」มาตรา14(1))กรณี
· ของรถโดยสารพื้นต่ำ : จำนวนคันถัดไป
√ เมืองพิเศษและเมืองหลวง : 1/2ของจำนวนรถประจำ ทางที่จะใช้งาน
√ ตัวเมือง (ยกเว้นเมืองเขตปกครองพิเศษและนครหลวง)และอำเภอ : 1/3 ของจำนวนรถประจำทางที่จะใช้งาน
· รถโดยสารที่พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับรถเข็น: 1/2ของจำนวนรถประจำทางที่ให้บริการ
- เมื่อนายกเทศมนตรีหรือเทศบาลกำหนดแผนเพื่อส่งเสริมความสะดวกในการขนส่งในพื้นที่หรือว่าเมื่อผู้ว่าการได้กำหนดแผนการเพื่อส่งเสริมความสะดวกในการขนส่งโดยสารประจำทางพื้นต่ำเข้ามาใช้ โดยคำนึงถึงเส้นทางการเดินรถ ไปจนถึงการเข้าถึงของผู้ทุพพลภาพ อีกทั้งวางแผนการติดตั้งอุปกรณ์เพื่ออำและการวางแผนเตรียมการบำรุงรักษาอำนวยความสะดวกป้ายรถเมล์ถนนฯลฯ สำหรับการใช้รถโดยสารพื้นต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการนำรถโดยสารพื้นต่ำเข้ามาให้บริการ ดังนั้นจึงต้องมีการสนับสนุนงบประมาณทางการเงินไปยังผู้ให้บริการรถโดยสารในเส้นทางที่กำหนด ตาม「 กฎหมายการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปรับปรุงความสะดวกในการจราจร」(รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้ด้อยสมรรถภาพ」 มาตรา14(3)และ(4)).
มีการรับประกันการใช้บริการที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย.
- เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการใช้รถไฟฟ้าใต้ดินแก่การขนส่งผู้อ่อนแอได้มีการกำหนดพื่นที่เฉพาะสำหรับการให้ความช่วยเหลือด้านการขนส่งแก่ผู้อ่อนแอมากกว่า1/10ตู้ของรถไฟฟ้าใต้ดินที่จัดให้(「รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้อ่อนแอ」 มาตรา 15(1)).
· ที่นั่งส่วนตัวของการขนส่งผู้อ่อนแอ ทำจากโครงสร้างและวัสดุที่เหมาะสำหรับการขนส่งผู้อ่อนแอควรแยกสีออกจากที่นั่งปกติ (กฎการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้อ่อนแอ」 มาตรา 4(1)).
· และด้านนอกของยานพาหนะที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ที่มีการจราจรโดยเฉพาะ และต้องแนบเครื่องหมายรูปภาพเพื่อระบุว่าสถานที่นั้นสามารถใช้จราจรสำหรับการขนส่งผู้อ่อนแอด้วย(กฎการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้อ่อนแอ」 มาตรา 4(2)).
· นอกจากนี้, ในพื้นที่เฉพาะการขนส่งผู้อ่อนแอนั้น มีการกำหนดพื้นที่2ช่องขึ้นไปเพื่อติดตั้งรถเข็นสำหรับการใช้รถเข็นของผู้อ่อนแอ และต้องติดตั้งที่จับด้วย (「กฎการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมความสะดวกในการจราจรแก่ผู้อ่อนแอ」 มาตรา 4(3)).
<เคล็ดลับการใช้รถไฟใต้ดินสำหรับผู้อ่อนแอ>
· รถไฟใต้ดินมีหน้าที่เสมือนเท้าของพลเมืองกรุงโซลนับ 10 ล้านคน โซล เมโทรได้จัดเตรียมบริการมากมายเพื่อให้ทุกคนรวมทั้งผู้อ่อนแอสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย.
· ทางเรากำลังจัดเตรียมบริการสำหรับผู้อ่อนแอผ่านแอปพลิเคชัน ”โตทารถไฟใต้ดิน”.
√ คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าสถานีใดที่มีที่ชาร์จอย่างรวดเร็วสำหรับเก้าอี้รถเข็นอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ที่โทรแบบวิดีโอ ผ่านการกดปุ่ม “ผู้อ่อนแอ” ในแอปพลิเคชัน”โตทารถไฟใต้ดิน”.
√ ผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นเด็กหรือเก้าอี้รถเข็นสามารถรับข้อมูลสำหรับสถานะการตรวจสอบลิฟต์ หรือการซ่อมแซม.
√ นอกจากนี้ คุณยังสามารถร้องขอใช้บริการแท็กซี่สำหรับผู้พิการของหน่วยงานสิ่งอำนวยความสะดวกโซลผ่านการส่งข้อความในแอปพลิเคชัน และสามารถใช้บริการตั้งค่าตาบอดสีระดับอ่อนสำหรับเส้นทางรถไฟใต้ดินโดยการกด ”≡” ทางด้านบนซ้ายของหน้าจอ.
· คุณสามารถสมัครบริการผู้ช่วยขณะเดินทางได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าออนไลน์, ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า.
√ คุณสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้าออนไลน์ (1577-1234) หรือศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยตรงเมื่อไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือแอปพลิเคชัน“โตทารถไฟใต้ดิน”เพื่อใช้บริการผู้ช่วยขณะเดินทาง เมื่อต้องการความดูแลสำหรับผู้พิการทางสายตา ต้องการเก้าอี้รถเข็น ต้องการความช่วยเหลือเนื่องจากช่องว่างระหว่างรถไฟและชานชลาที่กว้างมาก ฯลฯ.
√ ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้บริการผู้ช่วยขณะเดินทางเมื่อขึ้นรถไฟใต้ดิน เปลี่ยนสายเส้นทาง และเดินทางไปยังทางเข้าออกด้านนอกพร้อมกับพนักงานช่วยเหลือได้ โดยแจ้งเส้นทางการเดินทางต่อศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าของสถานีที่ต้องการขึ้นหรือศูนย์บริการลูกค้าออนไลน์.
√ แต่ละสถานีมีเก้าอี้รถเข็นจัดเตรียมไว้ หากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อกับสถานีที่ต้องการใช้บริการหรือศูนย์บริการลูกค้าออนไลน์.
· คุณสามารถตรวจสอบรายละเอียดที่หลากหลายเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้อ่อนแอเพิ่มเติม โดยเข้าไปที่โฮมเพจโซล เมโทร (www.seoulmetro.co.kr).
<แหล่งข้อมูล : เคล็ดลับควรรู้เกี่ยวกับการใช้รถไฟใต้ดินสำหรับผู้อ่อนแอ>