ผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรส
เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรสำหรับครอบครัวหลากวัฒนธรรม
หลักเกณฑ์
- เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรสำหรับครอบครัวหลากวัฒนธรรมมีไว้ให้แก่บุตรในครอบครัวหลากวัฒนธรรมที่กำหนดไว้ในวรรค1 มาตรา 2 แห่งกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนครอบครัวหลากวัฒนธรรมที่เป็นเด็กก่อนวัยเรียนอายุต่ำกว่าหกขวบ (กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของการบริการดูแลเด็กเล็กปี2023)
- บุตรที่ไม่ได้เกิดระหว่างผู้ย้ายถิ่นฐานจากการสมรส (รวมถึงผู้ที่ได้รับสัญชาติสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ด้วยการยอมรับหรือได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติ) ของครอบครัวหลากวัฒนธรรม ที่กำหนดไว้ในอนุวรรคที่ 1 มาตรา 2 แห่งกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนครอบครัวหลากวัฒนธรรม และผู้ที่มีสัญชาติสาธารณรัฐเกาหลีใต้ตามมาตรา 2 ถึง 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ แต่เกิดระหว่างผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรสของครอบครัวหลากวัฒนธรรมกับคู่สมรสเดิมของเขาหรือเธอ เงินสนุบสนุนการดูแลบุตรจะได้รับต่อเมื่อเด็กอาศัยอยู่กับครอบครัวหลากวัฒนธรรมและเป็นสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น เด็กจะต้องมีสัญชาติสาธารณรัฐเกาหลีใต้เพื่อที่จะได้รับเงินสนับสนุนเลี้ยงดูบุตร
- ในกรณีเด็กถึงเกณฑ์เข้าเรียนในโรงเรียน(ที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2016) มีการผัดผ่อนการเข้าเรียนเขาหรือเธออาจได้รับเงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่าหกปีในกรณีของการชะลอการเข้าโรงเรียนเงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่าหกปีจะได้รับเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้ระยะเวลาการสมัครหลักสูตรร่วมของนูรีจะต้องไม่เกิน3 ปี
เกณฑ์การคัดเลือก
- เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรจะได้รับโดยไม่คำนึงถึงระดับรายได้ของผู้ปกครอง
- บุตรที่เกิดระหว่างผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรส(รวมถึงคนที่มีสัญชาติเกาหลีใต้ด้วยการรับทราบหรืออนุญาตให้แปลงสัญชาติ)ของครอบครัวหลากวัฒนธรรม ที่กำหนดไว้ในอนุวรรคที่ 1 มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติการสนับสนุนครอบครัวหลากวัฒนธรรม (พระราชบัญญัติว่าด้วยครอบครัวหลากวัฒนธรรม) และบุคคลที่ได้รับสัญชาติเกาหลีใต้ตามมาตรา 2 ถึง 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ จะได้รับเงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตร โดยไม่คำนึงว่าเด็กนั้นจะอาศัยอยู่กับครอบครัวหลากวัฒนธรรมหรือไม่
- อย่างไรก็ตาม เด็กจะไม่มีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรแก่ครอบครัวหลากวัฒนธรรม หากผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรสอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้:
· ในกรณีที่พลเมืองชายผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรสนั้น เป็นผู้ที่เกิดในขณะที่บิดามารดาของเขาพำนักอยู่ ในต่างประเทศโดยไม่มีเจตนาที่จะพำนักอยู่อย่างถาวรจึงได้เป็นบุคคลที่มีหลากสัญชาติ จากการได้รับสัญชาติต่างด้าว แล้วกลายเป็นคนต่างด้าวโดยการสละสัญชาติของสาธารณรัฐ ของเกาหลีใต้ด้วยความตั้งใจที่จะหลบหนีการรับราชการทหาร
· ในกรณีที่พลเมืองชายของสาธารณรัฐเกาหลีใต้กลายเป็นคนต่างด้าวโดยได้รับสัญชาติต่างด้าวและสละสัญชาติสาธารณรัฐเกาหลีใต้โดยมีเจตนาที่จะหลบหนีการรับราชการทหาร
· ชาวเกาหลีที่มีสัญชาติต่างด้าว ตามมาตรา 2 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง และสถานภาพทางกฎหมายของชาวเกาหลีใต้ในต่างประเทศ ซึ่งพำนักอยู่ในต่างประเทศน้อยกว่า 15 ปี
- บุตรที่ไม่ได้เกิดระหว่างผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรส (รวมถึงผู้ที่ได้รับสัญชาติเกาหลีใต้ด้วยการยอมรับหรือได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติ) ของครอบครัวหลากวัฒนธรรม ที่กำหนดไว้ในอนุวรรคที่ 1 มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการสนับสนุนครอบครัวหลากวัฒนธรรม และเป็นคนที่มีสัญชาติเกาหลีใต้ตามมาตรา 2 ถึง 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ แต่เป็นผู้ที่เกิดระหว่างผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรสของครอบครัวหลากวัฒนธรรมกับคู่สมรสเดิมของเขาและเธอ จะได้รับเงินสนับสุนนการเลี้ยงดูบุตรต่อเมื่อ บุตรอาศัยอยู่กับครอบครัวหลากวัฒนธรรม ด้วยการเป็นสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น บุตรจะต้องมีสัญชาติของสาธารณรัฐเกาหลีใต้เพื่อมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสุนนการเลี้ยงดูบุตร
เอกสารที่ต้องนำส่ง
- ในการประเมินความเหมาะสมของผู้สมัคร ความสัมพันธ์ในครอบครัว ฯลฯ จะถูกตรวจสอบผ่านระบบข้อมูลประกันสังคม - Haengbok e eum (แบบสอบถามครอบครัวและทะเบียนความสัมพันธ์ในครอบครัว) หากข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบผ่านทาง Haengbok e eum ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานโดยตรง
- ผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรสที่ประสงค์จะขอรับเงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรจะต้องยื่นเอกสารใบทะเบียนสมรสและใบทะเบียนคนต่างด้าว
※ บัตรรายงานสถานที่พำนักของชาวเกาหลีที่ระบุเอกสารสัญชาติต่างด้าว เช่น หนังสือรับรองการจ้างงาน ฯลฯ พิสูจน์ได้ว่าผู้สมัครได้รับการยกเว้น จากการขึ้นทะเบียนคนต่างด้าวตามมาตรา 31 (1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมคนเข้าเมือง สามารถใช้แทนหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนคนต่างด้าวได้
- ในกลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานโดยการสมรส ชาวเกาหลีคนใดที่มีสัญชาติต่างด้าว (ผู้ที่ยื่นใบรายงานสถานที่พำนักและชาวต่างชาติที่จดทะเบียนแล้ว) ซึ่งระบุไว้ในอนุวรรค 2 มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและกฎหมายของชาวเกาหลีใต้ในต่างประเทศจะพิสูจน์ว่าเขา หรือเธออาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยการส่งหนังสือรับรองการเข้าและออกจากประเทศเกาหลี